Employees

เวลาพูดถึง Motivation หรือแรงจูงใจในการทำงาน ถ้าให้เราคิดเร็วๆ เราอาจจะคิดว่าแรงจูงใจที่ดีน่าจะมาจากเงินและผลประโยชน์ต่างๆ โดยปกติแล้วก็ไม่น่าจะมีใครปฏิเสธเงินที่มากขึ้นถูกไหมครับ How Will You Measure Your Life? เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมชอบมาก ผู้เขียนคือ Clayton Christensen ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่อยู่มาวันหนึ่งเขาก็เกิดสนใจที่จะมาค้นหาว่า จริงๆ แล้ว เราเข้าใจมาตรวัดของชีวิตกันไหมว่าอะไรที่เราอยากได้กันแน่

Yuval Noah Harari ผู้เขียนเรื่อง Sapiens เคยพูดไว้บนเวที TED Talks ว่า จริงๆ แล้วถ้าดูในระดับปัจเจกหรือรายบุคคล มนุษย์กับลิงชิมแปนซีนั้นแทบไม่ต่างอะไรกันเลย จะว่าไปถ้าพูดกันแบบตัวต่อตัว เช่น สมมติว่าเอาเราไปปล่อยเกาะกับลิงชิมแปนซีหนึ่งตัว และดูว่าใครจะอยู่รอดได้นานกว่า ลิงน่าจะชนะ แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นมาปกครองโลกนี้ได้ เพราะเราเป็นสัตว์ที่ร่วมมือกันได้เป็นจำนวนเยอะมากๆ และยังคงความยืดหยุ่นไว้ได้อีกด้วย

ช่วงเวลาที่มีคนลาออกมากที่สุดคือเดือนมกราคมหลังจากได้รับโบนัส และกรกฎาคม (ไปเริ่มงานที่ใหม่เพื่อจะได้ผ่านทดลองงานก่อนสิ้นปี) ถ้าต้องการจะหางานใหม่ ให้หาในช่วงนั้น จะมีตำแหน่งงานว่างเยอะกว่าปกติ วันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือที่เรียกว่าวันพักร้อน เป็นสิทธิ์ของพนักงาน ถ้าสิ้นปีแล้วยังมีวันลาพักร้อนเหลือ เหตุด้วยแจ้งใช้สิทธิ์แล้วไม่ได้รับการอนุมัติ และไม่มีการบอกว่าจะเลื่อนไปสมทบกับวันพักร้อนในปีถัดไป สามารถขอคืนเป็นเงินได้

ผ่านมาถึงเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 กันแล้วนะคะ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่อะไรหลายๆ อย่างถาโถมเข้ามาท้าทายขวัญและกำลังใจของลูกจ้างอย่างเราๆ กันมากมายจริงๆ ค่ะ ซึ่งมันก็มีเหตุผลของมันอยู่นะคะ ไม่ว่าจะเป็นการถูกเจ้านายเร่งให้ทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เพราะเหลือเวลาอีกแค่ 1 ไตรมาสก็จะต้องสรุปผลงานกันแล้ว หรือการต้องเตรียมแผนงานสำหรับปีหน้า ประมาณว่างานปีนี้ก็ต้องทำ ส่วนงานปีหน้าก็ต้องคิด

คงไม่ต้องพูดกันอีกแล้วว่าเราอยู่ในยุค Digital Disruption Technologies หรือสภาวการณ์ที่โลกเปลี่ยนเร็วเพราะเทคโนโลยี ตลอดมามีการทำนายคุณลักษณะของมนุษย์, รูปแบบงาน กระทั่งเทคโนโลยีในวันข้างหน้า เพื่อหาทางปรับตัวให้ทันกับโลกอนาคตเรื่อยมา บทความล่าสุดจาก World Economy Forum (สภาเศรษฐกิจโลก) เรื่อง ‘10 reasons why today’s cyber leaders are tomorrow’s world leaders’ (10 เหตุผล ทำไมผู้นำด้านไซเบอร์วันนี้ จะกลายเป็นผู้นำโลกในวันข้างหน้า) โดย ฟรานเซสกา บอสโก (Francesca Bosco) หัวหน้าโปรเจ็คค์ความปลอดภัยไซเบอร์ และ รีเบคกา ลิวอิส (Rebekah Lewis) หัวหน้าโปรเจ็คค์นโยบายธรรมาภิบาล แห่ง World Economy Forum อธิบายว่า…

การคิดที่มีประสิทธิภาพ (Effective thinking) เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ตลอดเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นและจบลงด้วยการเชื่อมต่อของสมองและจิตใจ (ความรู้สึก) คุณคิดว่าเป็นการเชื่อมต่อหรือไม่เชื่อมต่ออย่างไร ซึ่งวิธีคิดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ตามวิธีการ ดังนี้

หลายปีมาแล้วที่เราจะเห็นว่าคู่รักหลายคู่นิยมแยกกันอยู่ บางคู่แต่งงานกันแล้ว แต่ก็ยังไม่ย้ายเข้าบ้านของอีกฝ่าย บางคู่แม้จะอยู่บ้านด้วยกัน แต่ก็แยกกันอยู่คนละห้อง หรือบางคู่ก็ไม่แต่งงานกันเลย เพื่อจะได้ไม่สร้างข้อผูกมัดใดๆ ให้วุ่นวาย ‘Living Apart Together’ หรือ LAT จึงเป็นแนวทางการใช้ชีวิตที่คู่รักสมัยนี้นิยมทำกันมากขึ้น เดิมที LAT เป็นความสัมพันธ์ที่กลุ่มคู่รัก ‘อายุมาก’ เป็นผู้นำเทรนด์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพวกเขารู้สึกว่าตัวเองนั้นผ่านความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมมามากพอแล้ว เลยทำให้พวกเขาอยากใช้ชีวิตโดย ‘ขึ้นอยู่กับตัวเอง’ มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังอยากคงความโรแมนติกเอาไว้ จากผลสำรวจในปี ค.ศ.2011 พบว่า ผู้ใหญ่วัย 50 ปี (และมากกว่านั้น) กว่า 7,000 คน ในรัฐวิสคอนซิน มี 71.5% ที่แต่งงานแล้ว อีก 20.5% เป็นคนโสด ส่วน 8% ที่เหลือพบว่าเป็นคู่รักที่ไม่ได้แต่งงานกัน ซึ่งในกลุ่มคู่รักที่ไม่ได้แต่งงานกัน กว่า 39% อยู่ในความสัมพันธ์แบบ LAT

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ศัพท์ทางธุรกิจที่ถูกหยิบมาใช้และพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ คำหนึ่งคือ ‘disruption’ ซึ่งมีฟันเฟืองสำคัญอย่าง ‘digital technology’ เป็นตัวเร่งในการปรับเปลี่ยนความต้องการและทักษะของมนุษย์ ทั้งส่วนของแผนการศึกษา และตลาดแรงงานทั่วโลกด้วย การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้มีผลการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างตรงกันว่า อีก 10 ปีข้างหน้าคือ ในปี ค.ศ.2030 จะมีแรงงานถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและ A.I. มากถึง 6 ล้านคน โดยเฉพาะอาชีพที่อาศัยทักษะการทำงานซ้ำๆ แบบเดิมตลอด เช่น แรงงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศ เป็นต้น The MATTER ลองไปสำรวจดูอาชีพที่อาจจะถูกดิสรัปต์ และอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลายอาชีพก็แทบจะไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ฉะนั้นเพื่ออัพเดตเตรียมตัวสำหรับการทำงานในอนาคต เราลองมาดูกันดีกว่ามาจะมีอาชีพอะไรที่อาจจะหายไป และมีอาชีพอะไรกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานกันบ้าง

เมื่อชีวิตล้วนเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน สมองของคุณจะรับมือความไม่แน่นอนได้อย่างไร หรือเป็นไปได้ไหมที่วิทยาศาสตร์จะค้นพบกลไกที่ทำให้คุณทัดทานชีวิตอันไม่แน่นอนนี้ ค้นพบการรักษาจิตใจไม่ให้แตกสลายเมื่อความไม่แน่นอนพรากทุกอย่างไป งวดหน้าจะถูกหวยไหม เมื่อไหร่จะรวยๆ กับเขาสักที เป็นไปได้ไหมที่พรุ่งนี้จะสะดุดพบรัก เศรษฐกิจบ้านเมืองนี้เมื่อไหร่จะดีขึ้น หรือแม้กระทั่งพรุ่งนี้เราจะตายไหม? ก่อนก้าวเท้าออกจากบ้านพวกเรายังคงสารวนกับคำถามที่ไร้คำตอบ เรามีชีวิตในสังคมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ซึ่งเป็นแบบนี้มาหลายล้านปี (ในบางมิติของชีวิตอาจดีขึ้นตามพัฒนาการและวิทยาการทางสังคมมนุษย์ อย่างน้อยคุณก็ไม่ถูกเสือมันคาบไปแบบบรรพบุรุษรุ่นก่อน) แต่น่าสงสัยว่า สมองของมนุษย์แบกรับความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้อย่างไร ทำไมการสร้างภูมิคุ้มกันความไม่แน่นอนถึงมีความจำเป็นในการอยู่ร่วมเป็นสังคม

ด้วยการฝึกฝน (practice) และการช่วยเหลือส่งเสริม (nurturing) คุณสามารถฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นได้ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้มีความสำคัญต่องานที่ "สร้างสรรค์" เท่านั้น ในการวิจัยของ IBM ซีอีโอประมาณ 60% ของโพล (การเก็บรวบรวมข้อมูล) CEO กล่าวสนับสนุนถึงความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณภาพความเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุด เปรียบเทียบกับ 52% สำหรับการยึดมั่นในความซื่อสัตย์และ 35% สำหรับความคิดระดับโลกคือตระหนักถึงโลกใบนี้ ทำไม? เพราะความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้ผู้คนสามารถแก้ปัญหาและตอบสนองต่อความท้าทายซึ่งเกิดขึ้นกับความคิดเชิงนวัตกรรม (innovative idea)

เราถูกสอนว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี เพราะฉะนั้นใครที่รู้สึกเครียดก็ต้องรู้สึกกังวลและรู้สึกแย่กันเป็นธรรมดาแต่วันนี้ความเชื่อนั้นอาจเปลี่ยนไป Kelly McGonigal นักจิตวิทยาหญิงท่านหนึ่งได้เล่าถึงการวิจัยเอาไว้อย่างน่าสนในใจใน TedGlobal 2013

หากถามคนทำงานในยุคนี้หลายๆ คนถึงทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตข้างหน้า บางคนอาจตอบว่าสิ่งที่จำเป็นคือภาษา บางคนอาจตอบว่าเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ หรือบางคนอาจบอกว่า ต้องรู้เทคโนโลยีถึงจะไปได้ไกล วันนี้..เรามีคำตอบที่น่าจะครอบคลุมกว่าด้วยทักษะ 16 ประการที่คนทำงานทั้งในยุคนี้และยุคหน้าอาจต้องเตรียมตัวเอาไว้ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ

“Thailand 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาลไทยที่ใช้ในการผลักดันเพื่อให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้หรือฐานะ และแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ด้วยรูปแบบการ ‘ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม’ เนื่องจากที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังติดอยู่กับโมเดลทำมากได้น้อย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโมเดลมาเป็นทำน้อยได้มาก ซึ่งการลงมือทำน้อยๆ แต่ได้ผลตอบแทนมหาศาลนั้น ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรมเป็นการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรม รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในภาคการเงิน การบริหารจัดการและการบริการ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน การค้า อุตสาหกรรม การเกษตร ธนาคาร ประชาชน ชุมชน จังหวัด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต่างๆ ควบคู่ไปกับการส่งเสริม SMEs และ Startup เพื่อให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน สู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

แม้คนทำงาน 1 คนควรจะมี “ฮาร์ด สกิล” (Hard Skills) ซึ่งเป็นทักษะที่จะทำให้มีความเชี่ยวชาญในตำแหน่งงานหรืออาชีพนั้น แต่ทักษะสายงานตรงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการทำงานในวันนี้ ที่หลายบริษัทต้องการความสามารถที่หลากหลาย มาทำงานรวมกันร่วมกัน

คนทำงานอย่างท่านอย่างผม ปัจจุบันก็มีทั้งหัวหน้าและลูกน้อง หรืออย่างน้อยก็จะผ่านชีวิตของการเป็นลูกน้องมาบ้างเมื่อครั้งอายุยังเยาว์ เว้นไว้แต่ลูกเจ้าของบริษัทที่เรียนจบมาก็มาทำงานในองค์การเลย จะเป็นลูกน้องก็แต่กับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของตัวเองเท่านั้น (แต่ก็เป็นลูกน้องที่มีอำนาจและพลังอย่างมาก)

ในชีวิตของคนเราต้องพบเจอกับผู้คนมากมายหลายประเภท บางคนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งเสริม และสนับสนุนให้เราทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ในทางตรงกันข้าม บางคนคอยกลั่นแกล้ง ขัดขวาง เอาเปรียบ ใส่ร้ายป้ายสี มองโลกในแง่ลบ และทำให้เราหมดกำลังใจที่จะไล่ตามความฝัน ซึ่งเราให้คำนิยามกับคนประเภทนี้ว่าเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา”

ปัจจุบัน คนเราใช้เวลาในที่ทำงานมากกว่าพักผ่อนอยู่ที่บ้านเสียอีก ดังนั้น หากออฟฟิศมีลักษณะและบรรยากาศที่เหมาะสมย่อมสร้างสุขให้แก่พนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่ผลงานที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง วันนี้ขอนำเสนอ 10 วิธีปรับออฟฟิศเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน มาฝาก

สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ กำหนดว่าจะทำอะไรให้กลายเป็น ความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางของตน น่ากลัวว่าคงมีหลายคนที่สับสนมากใช่ไหม ผมคิดว่าเงื่อนไขในการเลือกมีหลายข้อ

มีหลายคนที่เรียกร้องหาแต่ ” งานที่เป็นตัวของตัวเองที่สุด “ มากจนเกินไป จนทำให้ดูเหมือนไม่มีความสุขในชีวิต บางคนถึงกับเก็บตัวซึมเศร้า เพราะสิ่งที่ได้รับมอบหมายไม่ใช่งานที่ชอบ หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนงานซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะยังค้นหา “สิ่งที่ตนอยากทำ” ไม่เจอสักที