การใช้เวลากับเทคโนโลยีไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น (Tech time not to blame for teens' mental health problems)

Last updated: 7 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:54 น.


การศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Psychological Science ชี้ให้เห็นว่าเวลาที่กลุ่มวัยรุ่นใช้ไปกับโทรศัพท์มือถือและทางออนไลน์นั้นไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด

การศึกษาดังกล่าวได้ติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อตรวจสอบว่าหากวัยรุ่นใช้เวลามากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) นั้นจะเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพจิตที่แย่ลงหรือไม่

คณะนักวิจัยซึ่งประกอบด้วย - Candice Odgers ศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์จิตวิทยาจาก the University of California; Michaeline Jensen ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก University of North Carolina Greensboro; Madeleine George นักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก Purdue University; และ Michael Russell ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมสุขภาพจาก Pennsylvania State University ได้พบหลักฐานเพียงเล็กน้อยของการเชื่อมโยงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องพัฒนาการของบุคคลในระยะยาวหรือแต่ละวันระหว่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสุขภาพจิตของวัยรุ่น

ศาสตราจารย์ Odgers กล่าวว่า “อาจถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่จะได้หยุดเถียงกันว่าการใช้สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียนั้นดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นและเริ่มหาวิธีที่จะสนับสนุนพวกเขาให้ดีที่สุดทั้งในชีวิตออฟไลน์และออนไลน์”

เป็นเรื่องตรงกันข้ามกับความเชื่อทั่วไปที่ว่าสมาร์ตโฟน (มือถือ) และโซเชียลมีเดียนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น เราไม่เห็นการสนับสนุนมากนักสำหรับแนวความคิดที่ว่าเวลาที่ใช้ไปกับโทรศัพท์มือถือและออนไลน์นั้นเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับปัญหาสุขภาพจิต " ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jensen กล่าว

การศึกษาสำรวจเยาวชนวัยรุ่นมากกว่า 2,000 คนแล้วติดตามตัวอย่างวัยรุ่นเกือบ 400 คนบนสมาร์ตโฟนของพวกเขาหลายครั้งต่อวันเป็นเวลาสองสัปดาห์ กลุ่มวัยรุ่นที่ร่วมในการศึกษาวิจัยนี้มีอายุระหว่าง 10 ถึง 15 ปีและเป็นตัวแทนของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจและเชื้อชาติในการเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐนอร์ธแคโรไลนา

คณะนักวิจัยได้รวบรวมรายงานอาการทางสุขภาพจิตจากวัยรุ่นสามครั้งต่อวัน รวมไปถึงกลุ่มวัยรุ่นได้รายงานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีประจำวันของพวกเขาในแต่ละคืน โดยการวิจัยได้ถามว่าเยาวชนที่มีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะประสบกับปัญหาสุขภาพจิตในภายหลังหรือไม่ และในวันที่วัยรุ่นใช้เวลานานขึ้นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจุดประสงค์ที่หลากหลายก็เป็นวันที่ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นหรือไม่ ซึ่งทั้งสองกรณีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตที่แย่ลง

เมื่อสังเกตความสัมพันธ์จะพบว่ามีน้อยและในทิศทางตรงกันข้ามที่คาดว่าจะได้รับทั้งหมดของความกังวลล่าสุดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น ตัวอย่างเช่น กลุ่มวัยรุ่นที่รายงานว่าการได้ส่งข้อความมากขึ้นตลอดระยะเวลาการศึกษาได้รายงานตามความเป็นจริงว่าได้ทำแล้วรู้สึกดีขึ้น (หดหู่น้อยลง) มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ส่งข้อความน้อย


อ้างอิง: มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (University of California – Irvine)