เจาะ Insight เด็กเจนฯ อัลฟ่า กับ 7 คาแรคเตอร์ของเด็กเจนฯ อัลฟ่า

Last updated: 7 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:54 น.


เจนเนอเรชั่นอัลฟ่า (Generation Alpha) คือคำเรียกเด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2010 หรือ พ.ศ.2553 เป็นต้นไป พวกเขาเติบโตมาในยุคเทคโนโลยีก้าวหน้า สังคมขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว แรง และขนาดใหญ่ ซึ่งการเติบโตท่ามกลางโลกที่หมุนเร็วของเด็กเจนฯ นี้ คงไม่อาจสรุปได้ว่าพวกเขาล้วนเป็นเลิศเพียงด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กเจนฯ นี้ต่างมีลักษณะเฉพาะตัวทั้งที่ควรสนับสนุนและควรเป็นห่วง

โดยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงเฉพาะพ่อแม่ที่ปวดหัว ปวดใจ ไม่เข้าใจ แต่ในสนามทำงาน คนในเจนเนอเรชั่นเบเบี้บูมเมอร์ หรือ เจน Y ก็ส่งเสียงกังวลถึงความแตกต่างในธรรมชาติ และต้องหาคู่มือเพื่อทำความเข้าใจความต่างระหว่างวัยนี้เช่นกัน

ฉะนั้นในโลกเหวี่ยงเร็ว แรง และไวเช่นนี้ การให้เด็กหรือลูกเรียนวิชาผิดหวัง เปิดโอกาสให้เขาร่วมทุกข์ร่วมสุข จะกลายเป็นเกราะอย่างดีที่จะติดตัวเขาไปจนโต ทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเกิดได้ด้วยพลังงานลบ สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือการรับมือและไปต่อด้วยพลังงานบวก การให้โอกาส ให้อภัย และพลังใจ ภารกิจถึงจะลุล่วง



5. คาแรคเตอร์ที่น่าห่วง

1. ใช้ชีวิตคนเดียว (Individualism) เด็กเจนฯ อัลฟ่าสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอาศัยเทคโนโลยีในการใช้ชีวิต ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น

2. ขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Less of Human Contact or Relationship) เมื่ออยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว การติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นก็น้อยลง แม้แต่ในครอบครัวของตัวเอง

3. ได้ความรักท่วมท้น (Extreme Coddle) พ่อแม่ปัจจุบันมีลูกน้อยลง ทำให้ทุ่มเทความรักความเอาใจใส่และความหวังที่ลูกมากเกินไปซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นปัญหา

4. ขาดความยืดหยุ่น (Less of Resilience) การใช้ชีวิตผุกติดกับเทคโนโลยีมากเกินไปอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมคล้ายหุ่นยนต์ใช้ชีวิตตามโปรแกรมที่พ่อแม่ตั้งไว้ ห่างไกลจากธรรมชาติและสังคม

5. คุณธรรมและจิตวิญาณลดลง (Moral and Spiritual Weakness) เมื่อใช้ชีวิตแบบหุ่นยนต์ความรู้สึกก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปพวกเขาอาจรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องอดทนคอยอะไร ไม่ต้องรู้่สึกผิดหวัง หรือเสียใจกับเรื่องอะไร



2 คาแรคเตอร์ที่ควรสนับสนุน

1. เชี่ยวชาญเทคโนโลยี (Robust Education Technology Savvy) พวกเขาจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยเทคโนโลยีและให้ความสำคัญว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต

2. อาชีพผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Generation) กล้าลอง กล้าทำสิ่งใหม่ๆ ทำให้อาชีพส่วนใหญ่ของคนในเจนนี้คือการประกอบธุรกิจ

"สำคัญที่สุด คือ การรับฟังเสียงของลูกเพราะช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่นมักทำให้คนที่อวุโสกว่าตั้งแง่เสมอ พ่อแม่ที่คอยประคับประคอง รับฟังอย่างไม่ตัดสินคือระบบนิเวศที่จะช่วยหนุนเสริมให้เจนเนอเรชั่นอัลฟ่า เติบโตอย่างแข็งเเรง"- นพ.สุริยเดว ทรีปาตี


อ้างอิง: thepotential.org