บทบาทการเป็น “ผู้นำ” ในยุค 4.0

Last updated: 12 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 - 16:10 น.


หากจะเปรียบเทียบ “ผู้นำ” ก็คือแม่ทัพขององค์กรที่เป็นผู้นำพากองทัพหรือองค์กรไปสู่สนามรบ คอยวางแผนและสร้างกลยุทธ์ในการต่อสู้กับศัตรู

คอยกระตุ้นนักรบหรือคนในองค์กรให้ตื่นตัว คอยให้กำลังใจเมื่อหมดแรงใจ คอยชี้นำและพยายามประคองนักรบทั้งกองทัพไปสู่เป้าหมายคือ “ชัยชนะ” ดังนั้นบทบาทของการเป็นผู้นำในยุค 4.0 จึงสำคัญและมีอิทธิพลต่อคนในองค์กร

  1. การกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน
  2. การเป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ
  3. การเป็นนักวางแผน
  4. การเป็นผู้ตัดสินใจ
  5. การเป็นผู้จัดองค์กร
  6. การเป็นผู้เปลี่ยนแปลง
  7. การเป็นผู้ประสานงาน
  8. การเป็นผู้สื่อสาร
  9. การเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง
  10. การเป็นผู้แก้ปัญหา
  11. การเป็นผู้จัดระบบ
  12. การเป็นผู้บริหารการพัฒนาบุคลากร
  13. การเป็นผู้บริหารบุคคล
  14. การเป็นผู้บริหารทรัพยากร
  15. การเป็นผู้ประเมินผล



1. การกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน

การกำหนดทิศทางช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจตรงกันมีเป้าหมายเดียวกันที่จะร่วมบรรลุไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำต้องมีความสามารถในการเขียนแผนงานโครงการและบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลสำเร็จ


2. การเป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ

ผู้นำต้องมีความสามารถในการกระตุ้นจูงใจ มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี


3. การเป็นนักวางแผน

ผู้นำจะต้องสามารถคาดเดาเหตุการณ์อนาคตเทรนด์ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมขององค์กรและบุคคลในองค์กรให้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้าย



4. การเป็นผู้ตัดสินใจ

ผู้นำจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ความรอบคอบในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการและไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

5. การเป็นผู้จัดองค์กร

ผู้นำต้องกำหนดโครงสร้างองค์กรเข้าใจพฤติกรรมขององค์กรเพื่อที่จะบริหารจัดการให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การเป็นผู้เปลี่ยนแปลง

ผู้นำจะต้องนำพาการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่องค์กรควรรู้ว่าต้องนำการเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ในเหตุการณ์ไหนและเวลาใด



7. การเป็นผู้ประสานงาน

ผู้นำจะต้องเข้าใจรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของบุคคล เข้าใจเครือข่ายการสื่อสาร รู้จักวิธีกำกับติดตามงาน เข้าใจระบบการรายงานที่ดีและสามารถประสานกิจกรรมต่างๆ ได้

8. การเป็นผู้สื่อสาร

ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารทั้งพูด อ่าน เขียนที่ดี รู้จักการใช้สื่อต่างๆ เพื่อการสื่อสารและเป้าประสงค์ มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์องค์กร

9. การเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง

ผู้นำต้องสามารถเผชิญหน้ากับความขัดแย้งได้และพร้อมรับมือกับมัน ต้องเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้งสามารถต่อรองและไกล่เกลี่ยได้



10. การเป็นผู้แก้ปัญหา

ผู้นำต้องวินิจฉัยปัญหาและแก้ปัญหาเป็นสามารถนำความรู้ความเข้าใจทั้งหมดที่มีมาประมวลหาวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด

11. การเป็นผู้จัดระบบ

ผู้นำต้องสามารถวิเคราะห์ระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารระบบเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

12. การเป็นผู้บริหารการพัฒนาบุคลากร

ผู้นำต้องมีความเข้าใจในระบบพัฒนาบุคลากรและการจัดการเรียนรู้มีความสนใจในการสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์กร



13. การเป็นผู้บริหารบุคคล

ผู้นำต้องมีความสามารถในเทคนิคของการเป็นผู้นำเจรจาต่อรองประเมินผลงานและปฏิบัติงานของบุคลากร

14. การเป็นผู้บริหารทรัพยากร

ผู้นำต้องมีความสามารถในการบริหารด้านการเงินและงบประมาณอีกทั้งต้องสามารถบริหารทรัพยากรอื่นๆ ในองค์กร รวมไปถึงการบำรุงรักษาการแสวงหาและการสนับสนุนจากภายในและภายนอกองค์กร

15. การเป็นผู้ประเมินผล

ผู้นำต้องมีความสามารถในการประเมินความต้องการและระบบวิธีการทางสถิติและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



นอกจากบทบาทของ “ผู้นำ” ปัจจัยที่ส่งผลต่อ “ทักษะภาวะผู้นำ” ก็สำคัญผู้นำจะต้อง:

  • มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์
  • การสร้างแรงบันดาลใจ
  • การกระตุ้นทางปัญญา
  • การคำนึงถึงความเป็นบุคคล




Source: ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21, รศ.(พิเศษ) ดร.พรชัย เจดามาน