ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก (FACTS ABOUT CHILDREN’S LEARNING)

Last updated: 12 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:44 น.

 

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ของเด็กขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ สภาพแวดล้อมต่างๆ รอบตัว, ผู้คนที่เด็กอยู่ด้วยใกล้ชิด (พ่อแม่, ผู้ปกครอง, ครู), วิธีการเลี้ยงดู, และสถานที่เด็กอยู่

เด็กที่เรียนสองภาษา (Bilingual Child) ก่อนอายุ 5 ขวบ จะมีโครงสร้างสมองที่มีพัฒนาการ ในการคิดไตร่ตรองดีกว่า ซึ่งแตกต่างจากเด็กที่เรียนเพียงภาษาเดียว

 

 

1. It has been shown that learning depends heavily on where, how, whom you are with and what’s around you.

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ของเด็กขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ สภาพแวดล้อมต่างๆ รอบตัว, ผู้คนที่เด็กอยู่ด้วยใกล้ชิด (พ่อแม่, ผู้ปกครอง, ครู), วิธีการเลี้ยงดู, และสถานที่เด็กอยู่

 

 

2. Children who learn two languages before the age of five have a different brain structure than children who learn only one language.

เด็กที่เรียนสองภาษา (Bilingual Child) ก่อนอายุ 5 ขวบ จะมีโครงสร้างสมองที่มีพัฒนาการในการคิดไตร่ตรองดีกว่า ซึ่งแตกต่างจากเด็กที่เรียน เพียงภาษาเดียว

 

 

3. If a child is in a stimulating environment, she has a 25% greater ability to learn. Conversely, if she is in an environment with low stimulation, she has 25% less ability to learn.

เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแรงกระตุ้นสูงมีแรงจูงใจ เด็กจะมีขีดความสามารถใน การเรียนรู้มากขึ้นถึง 25% และตรงกันข้ามถ้าเด็กนั้นอยู่ในสภาวะที่มีแรงกระตุ้นต่่ำขาดแรงจูงใจ เด็กจะมีขีดความสามารถในการ เรียนรู้น้อยกว่าถึง 25%

 

 

4. Teaching kids at a very early age is counterproductive to their learning. Early academic learning structured around directive teaching not only inhibits creativity, but stunts a child’s natural curiosity to discover how the world works.

การเรียนการสอนในเด็กเล็กมากๆ ที่มีอายุน้อยๆ จะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การศึกษาชั้นปฐมวัยที่เน้นแต่คำสั่งไม่เพียงแต่จะระงับความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่จะหยุดความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ ตามธรรมชาติที่เขาควรจะมีที่จะค้นหาเกี่ยวกับโลก

 

 

5. Playing with blocks increases neuron count in children

ของเล่นบล็อกไม้เพิ่มเซลล์ส มองในเด็ก เด็กๆ ที่เล่นของเล่นบล็อกไม้จะมี พัฒนาการที่ดีในการเรียนรู้

 

 

6. Music and movement augment children’s language capabilities during the preschool years. Children who engage in music from a young age have a more finely tuned ability to speak and communicate. Music must continue to be a part of a young child’s learning environment.

ดนตรีและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะเพิ่มพูนขีดความสามารถทางด้านภาษาแก่เด็กเล็ก ก่อนวัยเรียน เด็กๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมกับดนตรีตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีทักษะ ความสามารถในการพูด การสื่อสารได้ชัดเจนกว่า ดังนั้นดนตรีจึงควรอยู่เป็น ส่วนหนึ่งในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของเด็ก

 

 

7. Green spaces or natural backyards elevate children’s learning through discovery

พื้นที่สีเขียวและสนามเด็กเล่นธรรมชาติมีส่วนสำคัญในการยกระดับการเรียนรู้ของเด็กผ่านกระบวนการค้นหา

 

 

8. Interest areas in the classroom promote a child’s autonomy and choice making

พื้นที่ตามมุมต่างในห้องเรียนที่สร้างความสนใจให้แก่เด็กได้เน้นทักษะ (เช่น มุมการอ่าน, มุมวิทยาศาสตร์, มุมศิลปะ) จะส่งเสริมความสามารถในการคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเองของเด็ก

 

 

9. Economically disadvantaged children reap long-term benefits from preschool

เด็กที่ด้อยโอกาสกว่าทางการเงินจะได้เปรียบจากการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาวจากโรงเรียนวัยก่อนเรียน

(The brain of a young child is incredibly impressionable from ages 0-6. When there
are positive influences during this time, there is a higher likelihood that those experiences will shape the child’s future for years to come.)

ช่วงวัยแห่งการพัฒนาสมองที่ดีที่สุดคือตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึง 6 ขวบ เป็นช่วงที่สมองจะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตมากที่สุด เด็กเล็กในวัย 0 -6 ปี เป็นวัยแห่งการเรียนรู้กระบวนการเชื่อมต่อของเซลล์ สมองจะทำงานดีที่สุด หากได้รับอิทธิพลที่มีผลต่อการพัฒนาสมองในเชิงบวก มีความเป็นไปได้สูงว่าประสบการณ์เหล่านี้จะส่งผลดีต่อศักยภาพและอนาคตของเด็กในภายหน้า

 

 

10. Children are not blank slates on which adults imprint knowledge. When teachers have confidence in a child’s ability to learn independently, the child/teacher relationship is stronger. Teachers are then able to take a more “facilitative” role and observe the student actively learning.

เด็กๆ ไม่ใช่แค่เพียงกระดาษขาวแผ่นเปล่าๆ ที่ให้ผู้ใหญ่อัดแต่ความรู้วิชาการใส่ลงไปหากแต่คุณครูผู้สอนมีความเชื่อมั่นในขีดความสามรถในการเรียนรู้ของเด็กได้ด้วยตัวของเด็กเองความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครูจะพัฒนาดีขึ้นคุณครูควรเป็น “ผู้ช่วยชี้นำ” อำนวยการและสังเกตเด็กขณะที่เด็กเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น

 

 

11. Play-based learning increases a child’s attention span

การเล่นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กโดยมีกิจกรรม (เล่นเพื่อการเรียนรู้) จะทำให้เด็กมีความสนใจและสมาธิมากขึ้น

 

 

12. Children behave better when parents are involved in their education at home and at school

เด็กๆ ปฏิบัติตัวได้ดีขึ้นเมื่อพ่อแม่มีส่วนร่วมในการศึกษาของพวกเขาทั้งที่บ้านและโรงเรียน

 

 

13. Children who use electronic books show more cooperation and retain more information
(The use of the e-book also enhanced group cooperation and gave the students more opportunity to interact.)

เด็กที่เรียนรู้โดยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ที่มีเสียงข้อความ การเล่าเรื่องภาพเคลื่อนไหวดนตรีวิดีโอจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ มากขึ้นในการทำงานร่วมกันและการเก็บรักษาข้อมูล การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ยังช่วยเสริมความร่วมมือในงานกลุ่มและเพิ่มโอกาสให้แก่นักเรียนในการปฎิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกันมากขึ้น

 

 

14. Studies show that children do best when they have at least three loving and supportive adult influences in their lives.

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ และทำสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุดนั้นเด็กต้องมีผู้ใหญ่อย่างน้อย 3 คนที่รักเขาและให้การสนับสนุนเขา

 

 

อ้างอิง: วารสาร Ignite เล่ม1