Students

การผันเปลี่ยนจากวัยมัธยมมาศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ที่อยู่ในช่วงวัยการศึกษา และเมื่อเกิดโรคระบาดอย่าง COVID-19 ทำให้ภาพรวมระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยดูค่อนข้างแตกต่างไปจากที่เคยเป็น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เปรียบเสมือนเกณฑ์บังคับให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยต้องรับมือกับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

เคยสงสัยกันไหมว่า… เวลาที่เราถามอะไรคนที่โตกว่าบ่อยๆ จนบทสนทนาเริ่มยืดยาว คำตอบที่ทำให้เรามักจะถามต่อไม่ถูกคือ “โตขึ้นเดี๋ยวก็รู้เอง” เชื่อได้เลยว่า หลายคนที่ได้ยินคำนี้ คงมีคำถามว่า “ทำไม?” โผล่ขึ้นมาเต็มหัว “ทำไมถึงไม่ตอบเลยล่ะ?” “ทำไมต้องรอให้โตขึ้น? “แล้วโตขึ้นคือต้องโตเท่าไหน?”

สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2001 - ค.ศ. 2100) จากการศึกษา แผนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ ใน ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1901 - ค.ศ. 2000) นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้คนลดการเรียนรู้ทางด้านวิชาการลงแต่ไปเพิ่มการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้มากขึ้น

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” หรือ “ยุค 4.0” ซึ่งคำว่า 4.0 หมายถึง ลำดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในครั้งที่ 4 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทางด้านการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค 4.0 จึงทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้

พูดคุยกับ Dr. Linda Liukas คุณครูสาวจากฟินแลนด์ และเจ้าของผลงานหนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีการแปลไปกว่า 100 ภาษาอย่าง ‘Hello Ruby’ ที่อธิบายพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แม้แต่เด็ก 4 ขวบก็สามารถเรียนได้ ทั้งนี้ Dr.Linda Liukas ได้มาพูดคุยกับ Techsauce ในหัวข้อของ ระบบการศึกษา (Education System) ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อ COVID-19 ระบาดไปทั่วโลก และบทบาทของวงการการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้

ในการที่จะทำตัวให้ก้าวทันผู้อื่นในยุคที่มีการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ตลอดเวลา อีกทั้งองค์กรต่างก็ต้องการคนที่มีทักษะที่พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้ก้าวตามได้ทัน เราจะทำตัวให้เป็นคนที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาได้อย่างไร

Edtech startups กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วง Covid-19 เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในภาคการศึกษา ทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น นักลงทุนทั่วโลกมีการคาดการณ์ว่า unicorn ต่อ ๆ ไปจะมาจากภาคการศึกษา เพราะนี่คือจังหวะที่คนพร้อมรับการใช้เครื่องมือ digital มากขึ้น การศึกษากำลังถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยี การศึกษาไม่ได้ปิดกั้นอยู่แค่ในโรงเรียนอีกต่อไป ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีผู้คนจำนวนมากที่ต้อง reskill เพื่อเอาตัวรอดจาก digital disruption ที่ปฏิวัติตลาดแรงงาน

ยังจำได้ไหม? กับการเรียนหนังสือในห้องเรียน ทำการบ้านในสมุดส่งคุณครู สงสัยการบ้านข้อไหนก็ต้องโทรถามเพื่อน หรือส่งข้อความ msn บนคอมพิวเตอร์ เวลาเรียนพิเศษก็ต้องเดินทางไปที่สถาบันเพื่อไปนั่งเรียนในห้องเรียนตามเวลาที่สถาบันกำหนด

ในโลกแห่งเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งโควิดที่ได้เข้ามาเร่ง Adoption ของการใช้ Technology ในวงการการศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องปรับตัวแบบก้าวกระโดด แล้วสิ่งเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรกับการศึกษาและโรงเรียนแห่งอนาคต บทความนี้จะนำเสนอ 4 เทรนด์การศึกษาสมัยใหม่ที่ทุกคนควรติดตาม เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ‍

การเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงในทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน และมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งในการเรียนรู้นอกจากจะมีผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ และสื่อการสอนเหล่านี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

คนยุคใหม่ที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ คนที่อยู่ใน Generation Y และ Z ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง ค.ศ.1980 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต

วิกฤตไวรัส COVID-19 ระบาดคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการศึกษาทั่วโลก แม้หลายๆ ประเทศจะไม่เคยวางแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตระดับนี้มาก่อน แต่เหตุการณ์นี้กลับเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่ในอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ การปรับตัวอย่างรวดเร็ว วางแผนในเชิงกลยุทธ์ และการออกแบบระบบใหม่ คือแนวทางฝ่าวิกฤตของประเทศสหรัฐอเมริกา และนี่คือ 5 บทเรียนที่ผู้นำเขตพื้นที่การศึกษาหลายๆ แห่งของที่นี่ได้เรียนรู้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับผู้นำการศึกษาในการนำมาปรับใช้กับประเทศของตน

เมื่อนึกถึงภาพบรรยากาศห้องเรียนที่เราคุ้นเคยขณะเป็นนักเรียนนั้น เราก็คงพอจะอธิบายลักษณะของห้องเรียนในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งระเบียบ และข้อตกลงต่างๆ ที่ได้ทำร่วมกับครูผู้สอนไว้นั้นเราได้ตามมากน้อยแค่ไหน ในทางกลับกัน มุมมองของครูผู้สอนที่จะต้องเข้าไปทำการเรียนการสอน และรับมือกับนักเรียนจำนวนมากในห้องเรียนท่ามกลางความไม่พร้อมของนักเรียน ต้องประสบกับความท้าทาย และอาศัยการเตรียมตัวมากพอสมควรที่จะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และมุมมองความประพฤติของนักเรียนในห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด

การศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เมื่อกล่าวถึงหลักการจิตวิทยาที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งจากการศึกษาจะพบว่า มีความสัมพันธ์ส่งเสริมซึ่งกันและกันมาโดยตลอด การใช้จิตวิทยาเชิงบวกควบคู่กับการใช้หลักจิตวิทยาอื่นๆ ในโรงเรียนและ การจัดการเรียนการสอน เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข จึงก่อให้เกิดแนวคิดเรื่อง “Positive Education” ขึ้น หมายถึงระบบการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความสามารถตามความชอบหรือ ความถนัดของนักเรียนโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวส่งเสริมโดยให้ความสำคัญกับหลักการทางจิตวิทยาและ การอยู่ดีมีสุขทางสังคมของนักเรียนเป็นหลัก

เมื่อ COVID-19 เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ของครูและ นักเรียนทั่วโลกให้เป็นการเรียนทางไกลมากขึ้น แรงจูงใจในการเรียนรู้และ ทักษะการกำกับตนเองจะมีความสำคัญกว่าที่เคย สำหรับนักเรียนที่เรียนในรูปแบบนี้ การอ่านถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะนี้ โดยเฉพาะการปล่อยให้นักเรียนได้อ่านอย่างอิสระ มาดูกันว่าทำไมการอ่านถึงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้

ความรู้ความเข้าใจด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่เป็นการศึกษาทางชีววิทยาของสมองมนุษย์ ช่วยไขข้อข้องใจและได้อธิบายความเข้าใจผิดหลายอย่างเกี่ยวกับสมอง พฤติกรรม และการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “วัยรุ่น”

นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากการเรียนหลักสูตรปริญญาออนไลน์กันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในปี 2017 นักเรียนกว่าหกล้านคนลงทะเบียนเรียนออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งคอร์สเพื่อนำมาช่วยในการเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือให้ปริญญาเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จที่ตนเองคาดหวังไว้

สิ่งต่างๆ ที่กวนใจ หรือทำให้เราประทับใจมากในนิทานและตำนาน สามารถเป็นเครื่องมือพาเราไปทำความรู้จักกับลักษณะหรือด้านที่เราไม่ค่อยรู้จักเกี่ยวกับตนเองได้ โดยแต่ละคนมีประเด็นที่ต้องเข้าไปทำงานกับโลกภายในไม่เหมือนกัน

การเปิดเทอมปีการศึกษา 2563 กลายเป็นวาระใหญ่ที่มีหลายประเด็นต้องทำงาน ตั้งแต่การจัดแผนการเรียนรู้อย่างไร ควรเปิดโรงเรียนเต็มที่เมื่อไร จะมีเรียนออนไลน์ไหม ขนาดไหน เครื่องมือการเรียนออนไลน์พร้อมหรือไม่ และอื่นๆ เด็กๆ กำลังเจอกับความเครียดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งปัญหาทางการเงินของครอบครัว ความเครียดที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน ความกังวลเรื่องการศึกษาต่อ กังวลว่าคนใกล้ตัวจะติดไวรัส และ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่แค่นักเรียน ครูและครอบครัวครูก็เครียดไม่แพ้กัน การต้องอยู่กับความไม่แน่นอน ประชุมเพื่อคาดการณ์และเตรียมแผนการสอน และวาระส่วนตัวของแต่ละคน พูดได้ว่าสั่นสะเทือนตามกันไปหมด

บางครั้งมิตรภาพก็ทำให้เราเจ็บปวดได้ราวกับถูกหักอก โดยเฉพาะตอนที่กำลังไถหน้าฟีดเฟซบุ๊กหรือเลื่อนดูสตอรี่ไอจี แล้วดันไปพบว่าเพื่อนคนสนิทที่มักจะแฮงก์เอาท์ด้วยกันบ่อยๆ เพิ่งลงรูปไปกินข้าว ดูหนัง ช้อปปิ้งกับเพื่อนกลุ่มอื่นที่เราไม่รู้จัก

เด็กมีวิธีการเรียนรู้ ความชอบ ความสนใจ และแพชชั่น ไม่เหมือนกัน การจัดการเรียนรู้แบบ Personalized learning หรือ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย จึงเข้ามาตอบโจทย์เหล่านี้ เพราะอิสรภาพที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ (autonomy) คือแรงขับที่นำไปสู่การเรียนรู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และกล้าเผชิญกับความท้าทาย เด็กจะเข้าใจคุณค่า ความหมายของความรู้ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในหลักสูตร และมีรูปแบบชั้นเรียนดังนี้ 1.เรียนตามอัธยาศัย 20% 2.ทำโปรเจ็คต์ตามใจฉัน 3.ชั่วโมงสร้างอัจฉริยะ 4.เรียนรู้แบบสืบเสาะ ครูต้องถามจนได้คำตอบสุดท้าย

ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็น และกลายเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันเนื่องจากอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายดายมากยิ่งขึ้น อินเทอร์เน็ตจึงนับว่ามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการศึกษาหาข้อมูล และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้น ความสามารถในการค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเที่มีคุณภาพ และใช้ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างสูงสุด การอบรม และปลูกฝังทักษะดังกล่าวซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนการดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของสมองวัยรุ่นไม่ใช่แค่เรื่องที่รับรู้ รู้แล้ว แล้วผ่านไป ด้วยเหตุผลว่าทุกคนจะผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ แต่เป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้สมองของแต่ละคนได้รับอิสระที่จะก้าวไปถึงศักยภาพที่ดีสุด

นักการศึกษาส่วนมากเห็นตรงกันว่าความสนใจของผู้เรียนต่อบทเรียนนั้นสำคัญมากๆ ต่อการสร้างช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีมุมมองที่ต่างกันอยู่บ้างถึงนิยามของคำว่า “ความสนใจของผู้เรียน” หนึ่งในคำนิยามที่พบได้คือ “ระยะเวลา รูปแบบ และความเข้มข้นที่นักเรียนทุ่มเทให้กับประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง” ซึ่งแน่นอนว่าการเรียนแบบอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน และการเรียนในโลกออนไลน์ย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อผู้เรียนยังคงเป็นมนุษย์เหมือนกัน บางเทคนิคอาจสามารถนำไปปรับใช้กับห้องเรียนแบบออฟไลน์ได้ด้วยเช่นกัน และจากนี้คือเทคนิค 7 ข้อที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับความสนใจของผู้เรียน และทำให้ห้องเรียนออนไลน์ของคุณมีคุณภาพสูงขึ้น

ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนนี้ ‘ธุรกิจ’ ก็ยังเป็นอีกหน่วยหนึ่งของสังคมที่ถูกคาดหวังว่าน่าจะใช้ความสามารถ ทรัพยากร และนวัตกรรมช่วยนำพาสังคมให้รับมือและก้าวข้ามสถานการณ์ครั้งนี้ไปได้ แม้ในช่วงเวลาที่ธุรกิจก็อาจ ‘เจ็บป่วย’ เช่นกันในทุกพื้นที่ ทุกอุตสาหกรรม และทุกขนาด จากสภาพเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากคำว่าปกติ

มีคำกล่าวว่า โควิดไม่ได้แค่สร้างปัญหาใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น แต่ยังรวมถึงไปการขุดปัญหาเดิมที่เคยถูกซุกไว้ใต้พรมให้โผล่ขึ้นมาเด่นชัดยิ่งกว่าที่เคยเป็น – ปัญหาเรื่องการศึกษาไทยก็เช่นกัน อย่างที่เรารู้กันว่า กระทรวงศึกษาธิการตัดสินใจเลื่อนวันเปิดเทอมไปเป็นวันที่ 1 ก.ค.นี้ พร้อมทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (distance learning) ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถไปที่โรงเรียนได้ ด้วยการนำเนื้อหาจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) มาฉายทางโทรทัศน์ 17 ช่อง สำหรับนักเรียน ป.1-ม.6 อาชีวศึกษา และ กศน.

พอไม่ได้ไปโรงเรียน หน้าตาห้องเรียนของแต่ละคนเป็นอย่างไร? นั่งเรียนบนเก้าอี้ หรือนอนแผ่อยู่บนเตียง? มีการบ้านต้องทำเหมือนเดิมไหม หรือเยอะขึ้นกว่าแต่ก่อน? .. เรียนทางไกลกันมาสักพักแล้ว รู้สึกยังไงกันบ้าง? เมื่อโรคระบาด ทำให้เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน ระบบการเรียนทางไกล จึงถูกนำมาใช้ในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างทางกายภาพกัน แต่คำถามที่ตามมาก็คือ การเรียนทางไกลนานๆ จะส่งผลอย่างไรต่อเด็กๆ บ้าง?

หลังโควิด-19 ในประเด็นการศึกษาคาดการณ์ว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจกลายเป็น New normal ของสังคม ผู้ปกครองจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่องการจัดการศึกษา สิ่งที่ตามคือการปรับตัวของผู้ปกครองและครูที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงแก่นแท้และเป้าหมายของการศึกษาแต่ละรูปแบบ แล้วหยิบใช้จุดแข็งของการศึกษาแต่ละรูปแบบอย่างเหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน บทความนี้ชวนหาความเป็นไปได้ใหม่ในการจัดการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอแนวคิดการจัดการศึกษาสองแบบ คือ การศึกษาพิพัฒนาการ (Progressive Education) และการศึกษาด้วยตัวเอง (Self-Directed Education)

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมานักประสาทวิทยาค้นพบว่า ไม่เพียง “สมองส่วนสีเทา” ซึ่งอยู่เปลือกนอกสุดเท่านั้นที่มีความสำคัญในการบันทึกความทรงจำต่างๆ เอาไว้ใช้ในภายภาคหน้า แต่ “สมองส่วนสีขาว” ซึ่งเคยถูกมองว่าไร้ชีวิตเพราะปราศจากเซลล์ประสาทและไม่มีจุดเชื่อมต่อเซลล์อื่นใด กลับสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสมองเป็นการผนึกกำลังกันอย่างสมัครสมานสามัคคีของสมองทุกส่วน ซึ่งการจะทำงานที่สลับซับซ้อนเป็นหนึ่งเดียวได้นั้น สมองแต่ละส่วนต้องสื่อสารข้อมูลถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อโรงเรียนปิดอย่างไม่มีกำหนด เพื่อรับมือวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้นักเรียนหลายสิบล้านคนทั่วโลก ต้องเผชิญกับความวุ่นวายทั้งในเรื่องของการศึกษาและชีวิตประจำวัน นักเรียนของเรายังต้องหวาดกลัวว่าไวรัสอาจจะทำให้ตัวเองหรือคนที่เขารักเจ็บป่วยได้ ดังนั้นช่วงเวลานี้ นักเรียนจำเป็นที่จะต้องมีทักษะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ในช่วงเวลานี้เอง การเรียนรู้ทักษะทางด้านสังคม และอารมณ์จึงกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่ครู และนักการศึกษาควรให้ความสนใจ อาจจะต้องมากกว่าการมุ่งหาทางออกแค่เรื่องสอนหนังสือทางไกล สอนออนไลน์อย่างเดียว