บทความ

การผันเปลี่ยนจากวัยมัธยมมาศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ที่อยู่ในช่วงวัยการศึกษา และเมื่อเกิดโรคระบาดอย่าง COVID-19 ทำให้ภาพรวมระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยดูค่อนข้างแตกต่างไปจากที่เคยเป็น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เปรียบเสมือนเกณฑ์บังคับให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยต้องรับมือกับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

เคยสงสัยกันไหมว่า… เวลาที่เราถามอะไรคนที่โตกว่าบ่อยๆ จนบทสนทนาเริ่มยืดยาว คำตอบที่ทำให้เรามักจะถามต่อไม่ถูกคือ “โตขึ้นเดี๋ยวก็รู้เอง” เชื่อได้เลยว่า หลายคนที่ได้ยินคำนี้ คงมีคำถามว่า “ทำไม?” โผล่ขึ้นมาเต็มหัว “ทำไมถึงไม่ตอบเลยล่ะ?” “ทำไมต้องรอให้โตขึ้น? “แล้วโตขึ้นคือต้องโตเท่าไหน?”

สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2001 - ค.ศ. 2100) จากการศึกษา แผนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ ใน ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1901 - ค.ศ. 2000) นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้คนลดการเรียนรู้ทางด้านวิชาการลงแต่ไปเพิ่มการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้มากขึ้น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ทางผู้เขียนมีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันอีกเช่นเคย เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในปัจจุบันนี้ นั่นคือเรื่อง “การใช้อีเมลทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ” ที่หลายคนอาจจะข้องใจว่า “เอ๊ะ! มันเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ใช้เป็น…ทำไมต้องมาบอกด้วย”

ในสภาวะเช่นนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อความสุขในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต วัยเรียน วัยทำงาน วันนี้ผู้เขียนมีวิธีส่งเสริมความสุขในชีวิตมานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านกันครับ จะมีเทคนิคไหนที่ตรงใจกับท่านผู้อ่านบ้างไปเริ่มกันเลย สำหรับ 9 เทคนิคสร้างความสุขที่ไม่ต้องลงทุนมากมายอะไร ซึ่งง่าย เหมาะกับทุกคนและยังสามารถปรับใช้ได้ทันทีแค่เพียงเริ่มต้นวันนี้ !!

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” หรือ “ยุค 4.0” ซึ่งคำว่า 4.0 หมายถึง ลำดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในครั้งที่ 4 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทางด้านการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค 4.0 จึงทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้

ในโลกปัจจุบันของคนวัยทำงาน เราต่างตกเป็นเหยื่อกระแสนิยมของสังคมที่กำลังบีบคนวัยทำงานให้พยายามกันสุดตัว เพื่อจะเป็นคนเก่งด้วยความเชื่อที่ว่าการที่ชีวิตคนเราจะมีความสุขได้ต้องประสบความสำเร็จในหลายด้าน

หลายท่านที่กำลังอยู่ในวัยทำงานเคยเป็นกันบ้างไหม ที่หลายครั้งมีโอกาสดีๆ ผ่านเข้ามามากมายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น พนักงานดีเด่น การเลื่อนตำแหน่ง การได้รับมอบหมายงานที่สำคัญ การเป็นตัวแทนบริษัทในการพูดหรือทำสิ่งต่างๆ ทริปศึกษาดูงานต่างประเทศ หรือ การขึ้นไปจับฉลากมอบของขวัญปีใหม่ให้คนอื่น ฯลฯ เราก็ไม่เคยถูกเลือกให้ได้รับโอกาสนั้น หรือ หากจะได้จริงคือโอกาสที่คนอื่นเกี่ยงปัดเศษเหลือมา แบบนี้เคยเจอกันไหมครับ ?

พูดคุยกับ Dr. Linda Liukas คุณครูสาวจากฟินแลนด์ และเจ้าของผลงานหนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีการแปลไปกว่า 100 ภาษาอย่าง ‘Hello Ruby’ ที่อธิบายพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แม้แต่เด็ก 4 ขวบก็สามารถเรียนได้ ทั้งนี้ Dr.Linda Liukas ได้มาพูดคุยกับ Techsauce ในหัวข้อของ ระบบการศึกษา (Education System) ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อ COVID-19 ระบาดไปทั่วโลก และบทบาทของวงการการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้

ในการที่จะทำตัวให้ก้าวทันผู้อื่นในยุคที่มีการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ตลอดเวลา อีกทั้งองค์กรต่างก็ต้องการคนที่มีทักษะที่พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้ก้าวตามได้ทัน เราจะทำตัวให้เป็นคนที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาได้อย่างไร

Edtech startups กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วง Covid-19 เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในภาคการศึกษา ทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น นักลงทุนทั่วโลกมีการคาดการณ์ว่า unicorn ต่อ ๆ ไปจะมาจากภาคการศึกษา เพราะนี่คือจังหวะที่คนพร้อมรับการใช้เครื่องมือ digital มากขึ้น การศึกษากำลังถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยี การศึกษาไม่ได้ปิดกั้นอยู่แค่ในโรงเรียนอีกต่อไป ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีผู้คนจำนวนมากที่ต้อง reskill เพื่อเอาตัวรอดจาก digital disruption ที่ปฏิวัติตลาดแรงงาน

ยังจำได้ไหม? กับการเรียนหนังสือในห้องเรียน ทำการบ้านในสมุดส่งคุณครู สงสัยการบ้านข้อไหนก็ต้องโทรถามเพื่อน หรือส่งข้อความ msn บนคอมพิวเตอร์ เวลาเรียนพิเศษก็ต้องเดินทางไปที่สถาบันเพื่อไปนั่งเรียนในห้องเรียนตามเวลาที่สถาบันกำหนด

ในโลกแห่งเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งโควิดที่ได้เข้ามาเร่ง Adoption ของการใช้ Technology ในวงการการศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องปรับตัวแบบก้าวกระโดด แล้วสิ่งเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรกับการศึกษาและโรงเรียนแห่งอนาคต บทความนี้จะนำเสนอ 4 เทรนด์การศึกษาสมัยใหม่ที่ทุกคนควรติดตาม เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ‍

พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกัน หรือบูลลี่(Bully)ของเด็กไทย ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น และจากการสำรวจพบว่า เด็กกว่า 91% เคยถูกบูลลี่ 43 %คิดจะตอบโต้เอาคืน เสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ในการเสวนาหัวข้อ “BULLYING” กลั่นแกล้ง ความรุนแรงที่รอวันประทุ” เพื่อหาทางออกและวิธีแก้ไขปัญหาเด็กโดนกลั่นแกล้ง หรือ บูลลี่ จัดโดยเครือข่ายปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ร่วมกับ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

การเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงในทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน และมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งในการเรียนรู้นอกจากจะมีผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ และสื่อการสอนเหล่านี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

คนยุคใหม่ที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ คนที่อยู่ใน Generation Y และ Z ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง ค.ศ.1980 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต

ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอก 2 ยังคงสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนพ่วงด้วยผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของชีวิต รวมไปถึง การเปิดภาคเรียนใหม่ของปี 2564 ซึ่งการเรียนการสอนจะต้องกลับมาในรูปแบบออนไลน์อีกครั้ง แม้ว่าในครั้งนี้ ความรู้สึกของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองอาจเริ่มคุ้นชินกับสิ่งนี้ แต่เราก็ยังอดเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนออนไลน์ไม่ได้ผ่านทางคำบอกเล่าปนบ่นของผู้ปกครอง ตามโซเชียลมีเดียที่นักเรียนออกมาระบาย ทำให้เราตระหนักได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนออนไลน์ก็ยังคงมีอยู่ บางเรื่องอาจได้รับการแก้ไข บางเรื่องอาจเป็นปัญหาใหม่ บางเรื่องไม่เคยได้รับการแก้ไขเลย ได้แต่ทนๆ ใช้เท่าที่มี เรียนเท่าที่ได้หรือปล่อยให้ความรู้สึกนี้ชินๆ กันไปเอง

วิกฤตไวรัส COVID-19 ระบาดคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการศึกษาทั่วโลก แม้หลายๆ ประเทศจะไม่เคยวางแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตระดับนี้มาก่อน แต่เหตุการณ์นี้กลับเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่ในอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ การปรับตัวอย่างรวดเร็ว วางแผนในเชิงกลยุทธ์ และการออกแบบระบบใหม่ คือแนวทางฝ่าวิกฤตของประเทศสหรัฐอเมริกา และนี่คือ 5 บทเรียนที่ผู้นำเขตพื้นที่การศึกษาหลายๆ แห่งของที่นี่ได้เรียนรู้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับผู้นำการศึกษาในการนำมาปรับใช้กับประเทศของตน

เมื่อนึกถึงภาพบรรยากาศห้องเรียนที่เราคุ้นเคยขณะเป็นนักเรียนนั้น เราก็คงพอจะอธิบายลักษณะของห้องเรียนในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งระเบียบ และข้อตกลงต่างๆ ที่ได้ทำร่วมกับครูผู้สอนไว้นั้นเราได้ตามมากน้อยแค่ไหน ในทางกลับกัน มุมมองของครูผู้สอนที่จะต้องเข้าไปทำการเรียนการสอน และรับมือกับนักเรียนจำนวนมากในห้องเรียนท่ามกลางความไม่พร้อมของนักเรียน ต้องประสบกับความท้าทาย และอาศัยการเตรียมตัวมากพอสมควรที่จะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และมุมมองความประพฤติของนักเรียนในห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด

การศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เมื่อกล่าวถึงหลักการจิตวิทยาที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งจากการศึกษาจะพบว่า มีความสัมพันธ์ส่งเสริมซึ่งกันและกันมาโดยตลอด การใช้จิตวิทยาเชิงบวกควบคู่กับการใช้หลักจิตวิทยาอื่นๆ ในโรงเรียนและ การจัดการเรียนการสอน เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข จึงก่อให้เกิดแนวคิดเรื่อง “Positive Education” ขึ้น หมายถึงระบบการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความสามารถตามความชอบหรือ ความถนัดของนักเรียนโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวส่งเสริมโดยให้ความสำคัญกับหลักการทางจิตวิทยาและ การอยู่ดีมีสุขทางสังคมของนักเรียนเป็นหลัก

เมื่อ COVID-19 เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ของครูและ นักเรียนทั่วโลกให้เป็นการเรียนทางไกลมากขึ้น แรงจูงใจในการเรียนรู้และ ทักษะการกำกับตนเองจะมีความสำคัญกว่าที่เคย สำหรับนักเรียนที่เรียนในรูปแบบนี้ การอ่านถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะนี้ โดยเฉพาะการปล่อยให้นักเรียนได้อ่านอย่างอิสระ มาดูกันว่าทำไมการอ่านถึงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้

นี่คงเป็นคำพูดที่ทุกคนเคยได้ยินอย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่ทุกคนคิดจะใช้เพื่อเรียกให้ผู้ฟังทุกคนกลับมาอยู่ที่ตัวเองหรือผู้พูด สิ่งนี้ คงเป็นสิ่งที่คุณครูทุกคนคาดหวังว่าเวลาที่สอนหรือทำกิจกรรมอยู่ในห้องเรียน นักเรียนทุกคนก็กำลังฟัง ปฏิบัติตาม หรือมีส่วนร่วมอยู่ ซึ่งความคาดหวังนี้จะสามารถทำให้เป็นจริงได้ หากคุณครูนำเทคนิค 100% ไปใช้ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน

การตั้งคำถามแบบโสเครติส’ (Socratic Questioning) การสร้างวิธีการเรียนรู้กับผู้คนด้วยการเข้าไปตั้งคำถามกับความเข้าใจที่ผู้คนมีก่อนหน้า และช่วยให้คู่สนทนารู้ว่าเขามีสิ่งที่ยังไม่รู้ เป็นวิธีคิดของโสเครติสนักปรัชญาชาวกรีก

ครูส่วนมากมักเข้าใจผิดในเรื่องข้อผิดพลาด มองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จะต้องแก้ไข จัดการซุกซ่อน แล้วดำเนินการชั้นเรียนต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผิดสำหรับการศึกษา ซึ่งที่จริงแล้วควรต้องมองว่าในกระบวนการเรียนรู้ การทำสิ่งผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

บีบีซี ฟิวเจอร์ (BBB FUTURE) นำเสนอบทความเรื่อง “โควิด-19 กำลังทำให้โลกของเด็กๆ เปลี่ยนไปอย่างไร?” (How Covid-19 is changing the world’s children) มีเนื้อหาท่อนหนึ่งใจความว่า สิ่งที่น่ากังวลใจไม่แพ้การส่งเสริมทักษะความรู้ในช่วงที่เด็กๆ ถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน คือ การพัฒนาด้านอารมณ์และการเข้าสังคมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กเล็กและประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องสุขภาพจิตวัยรุ่นขณะใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตลอด 24 ชั่วโมงเป็นระยะเวลานาน จากสถิติในสหรัฐอเมริกา พบว่า วัยรุ่นร้อยละ 35 ได้รับโอกาสเข้ารับการฟื้นฟูสุขภาพจิตภายใต้การดูแลของโรงเรียน ครูมักเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นอาการผิดปกติแล้วกระตุ้นให้พวกเขาเข้ารับการรักษา สำหรับวัยรุ่นหลายคน ‘บ้าน‘ ไม่ใช่สถานที่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย เมื่ออยู่บ้านบางคนต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านอย่างต่อเนื่องในช่วงกักตัวแบบนี้จึงไม่ใช่เรื่องดีนักสำหรับพวกเขา

ความรู้ความเข้าใจด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่เป็นการศึกษาทางชีววิทยาของสมองมนุษย์ ช่วยไขข้อข้องใจและได้อธิบายความเข้าใจผิดหลายอย่างเกี่ยวกับสมอง พฤติกรรม และการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “วัยรุ่น”

การปะทะกันระหว่างคนต่างรุ่นถูกพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งมุมมองการใช้ชีวิต การทำงาน โดยเฉพาะในประเด็นการเมืองที่มี “คนรุ่นใหม่” เข้ามา มีทั้งคำชื่นชม เสียงเสียดสีในเชิงเด็กที่ไร้เดียงสาทางด้านการเมือง นอกจากนี้ยังมีคำอย่าง Generation Me ที่ใช้เรียกคนเจนหลังที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และการสวนกลับว่า OK Boomer! ยังสะท้อนว่าความขัดแย้งระหว่างคนแต่ละช่วงอายุเป็นปัญหาที่มีทั่วโลก แม้ความขัดแย้งจะมีมากขึ้น แต่อย่างไรการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม ยังจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของคนหลายเจเนอเรชันในการทำงานและการอยู่ร่วมกัน ความเข้าใจจึงเป็นเครื่องมืออีกเครื่องมือที่จะช่วยลดความขัดแย้ง

นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากการเรียนหลักสูตรปริญญาออนไลน์กันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในปี 2017 นักเรียนกว่าหกล้านคนลงทะเบียนเรียนออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งคอร์สเพื่อนำมาช่วยในการเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือให้ปริญญาเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จที่ตนเองคาดหวังไว้

ตามธรรมชาติแล้วทารกจำเป็นต้องพึ่งพาใครสักคนที่จะมอบความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใส่ใจเขาเพื่อความอยู่รอด พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดอาจเป็นตัวเลือกแรกสุด หรืออาจเป็นญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ใหญ่ใจดีสักคนเข้ามาทำหน้าที่ผู้เลี้ยงดู สุดแล้วแต่เหตุผลของชีวิต อย่างน้อยที่สุดเจ้าหนูต้องได้รับความรักความอบอุ่นเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยเป็นสุขหรือมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ฐานที่มั่น’ (secure base) เพื่อให้เขากล้าออกไปเรียนรู้อย่างอุ่นใจและมีที่พักพิงอันปลอดภัยซึ่งเขาสามารถกลับไปหาได้เสมอ

เคยเป็นกันไหม อยู่ดีๆ ก็รู้สึกโกรธขึ้นมา อาจจะเพราะด้วยเรื่องงาน เรื่องความสัมพันธ์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ มนุษย์ทุกคนย่อมมีความโกรธ เมื่อเผชิญหน้ากับสภาวะกดดันหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ซึ่งความโกรธเป็นอารมณ์เชิงลบที่ถ้าหากควบคุมไม่ได้ ก็อาจสร้างความเสียหาย ความวุ่นวาย ให้กับชีวิตตัวเองและคนรอบข้าง