12 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับวิธีคิดอย่างมีประสิทธิภาพ

Last updated: 24 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:44 น.


การคิดที่มีประสิทธิภาพ (Effective thinking) เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ตลอดเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นและจบลงด้วยการเชื่อมต่อของสมองและจิตใจ (ความรู้สึก) คุณคิดว่าเป็นการเชื่อมต่อหรือไม่เชื่อมต่ออย่างไร  ซึ่งวิธีคิดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ตามวิธีการ ดังนี้

 

1. ระบุและย้อนกลับความเชื่อหลักเชิงลบ (Identify and reverse negative core beliefs)

"ฉันยังไม่ดีพอ." “ฉันไม่สมควรได้รับสิ่งนี้” เราทุกคนล้วนได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและเมื่อเราผูกติดนิยามเชิงลบกับประสบการณ์เหล่านั้น  โดยนำคำพูดเชิงลบเหล่านั้นไปสู่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของเราโดยไม่รู้ตัว การคิดอย่างมีประสิทธิภาพทำได้โดยการย้อนกลับความคิดด้านลบให้เป็นด้านบวกและคิดเชิงบวกซ้ำๆ ในความคิดของคุณ

 

2.คำพูดที่ทรงพลังกระตุ้นให้เกิดการคิดที่มีประสิทธิภาพ (Powerful words trigger powerful thinking)

“ฉันจะลองทำสิ่งนี้ดู”  ข้อความนี้ตรงจุดไหนที่ทรงพลัง?  เปลี่ยนคำพูดใหม่ คือ “ฉันวางแผนจะเรียนรู้และเข้าใจเทคนิคนี้อย่างละเอียดรวมทั้งเพิ่มยอดลูกค้า” การใช้คำพูดที่ทรงพลัง มีอิทธิพล และประสิทธิภาพส่งผลให้คุณประสบผลสำเร็จในการคิด ซึ่งการสร้างแรงจูงใจ ไม่ใช่เพียงแค่ “การลองทำ” บางสิ่งบางอย่าง  “การเรียนรู้บางสิ่งอย่างถ่องแท้” สร้างแรงจูงใจเป็นอย่างมาก จงใช้ความคิดอย่างมีประสิทธิภาพและทรงพลังเพราะการคิดที่มีประสิทธิภาพจะส่งเสริมการกระทำที่ทรงพลังมากๆ

 

3. ความคิดออกแบบได้...เมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นตามที่คุณคิด (When it all comes down to it, you are what you think)

ดังนั้นหากคุณคิดว่าคุณเป็นคนล้มเหลว คุณก็ไม่สมควรได้รับความสำเร็จหรือความสุข หรือคุณเป็นคนที่ไม่ดีพอ จิตใต้สำนึกของคุณจะนำทางคุณไปในทิศทางที่คุณกำลังคิด คุณต้องคิดในวิธีที่นำคุณไปสู่ความสำเร็จ นั่นคือการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4. เมื่อเกิดความล้มเหลวหรือวิกฤต ให้คิดอยู่เสมอว่า “บทเรียนนี้มีอะไรสอนใจอยู่”? (When failure or crisis ensues, always think, “What is the lesson here?”)

จงจำไว้ว่าทุกอย่างเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยการเชื่อมต่อของสมองและจิตใจ (ความรู้สึก) ค้นหาบทเรียนสอนใจที่มีคุณค่าซึ่งให้ประโยชน์หรือเป็นผลดีกับคุณจากทุกเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ (traumatic event) ด้วยวิธีนี้เมื่อคุณย้อนกลับไปดูสถานการณ์นั้น ทำให้คุณมีมุมมองว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ใช่เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเชิงลบ พยายามมองหาความสุขในทุกๆ สิ่ง

 

5. เมื่อคุณพักโครงการเพื่อพิจารณา ทำให้มั่นใจว่าคุณจะเริ่มต้นอีกครั้ง (When you stop a project to think about it, make sure you start it again.)

ไอเดียสร้างสรรค์มากมายถูกทอดทิ้งเพราะความลังเลหรือการผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อคุณพบว่าตัวเองหยุดนิ่งอยู่กลางโครงการและคุณกำลังลังเลให้กลับไปดูที่ข้อ 1 จากนั้นค้นหาความเชื่อที่หน่วงเหนี่ยวคุณ ย้อนกลับความเชื่อนั้นโดยการเพิ่มคำพูดเชิงบวกที่ทรงพลัง มีประสิทธิภาพซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของคุณ

 

6. การคิดมากเกินไปกระตุ้นให้เกิดความซบเซา เฉื่อยชา (Thinking too much promotes stagnation)

ดังนั้นจงคิดเช่นนี้: ใช้ความคิด…ไอเดียสร้างสรรค์…วิสัยทัศน์…ปฏิบัติ โดยการใช้ความคิดของคุณ สร้างไอเดียสร้างสรรค์ จะทำให้เห็นภาพความคิดทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในใจของคุณ ทำตามขั้นตอนเพื่อให้ความคิดนั้นเกิดขึ้นในตอนนี้

 

7. คุณไม่สามารถได้ทุกสิ่งดังที่คุณต้องการในเวลาเดียวกัน (You can’t want something and have it at the same time.)

โค้ชด้านการเงินที่ทรงคุณค่ามากสอนแนวคิดนี้ให้แก่ฉันและเมื่อฉันตระหนักถึงมัน ฉันกลายเป็นคนติดค้าง มีอุปสรรค และเมื่อคุณกำลังยุ่งอยู่กับการต้องการบางสิ่งบางอย่าง กระบวนการคิดทั้งหมดได้รวมอยู่ในความปรารถนาอย่างมากมายนั้นและความต้องการนั้น และเมื่อคุณพบว่าตัวเองพูดอะไรบางอย่างเช่น “ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าจะทำอย่างไร แต่ฉันต้องทำอย่างนั้น”  ให้ไปที่ข้อ 6 แทน นำสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนเป็นไอเดียสร้างสรรค์ จินตนาการให้ชัดเจนและดำเนินการเพื่อไปถึงที่นั่น การเปลี่ยนการมุ่งเน้นไปที่สถานะของ 'การมี' จะทำให้จิตใจกระตุ้นให้ทำตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อถึงสิ่งนั้นแทนที่จะอยู่ในสภาวะของความอยากได้อยากมี อยากทำสิ่งต่างๆ

 

8. ใช้การกระตุ้นทางจิตวิทยาเพื่อให้สมองและความรู้สึกส่วนลึกของคุณอยู่ในช่วงคลื่นเดียวกัน (Use psychological triggers to keep your brain and your heart on the same wavelength.)

ตัวอย่างเช่น ในส่วนลึกของจิตใจ คุณรู้ว่าคุณต้องตั้งงบประมาณ แต่สมองของคุณกำลังพูดว่า "มันไม่เกิดประโยชน์ ยังไงเงินก็หมด” อย่ายอมจำนน ย้อนความคิดของสมอง แล้วคิดพิจารณาดูว่าคุณจะมีความเครียดน้อยลงแค่ไหนเมื่อคุณรู้ว่าคุณต้องใช้จ่ายเท่าไหร่และไปใช้ที่ไหนบ้าง สิ่งนี้จัดสมองและความรู้สึกส่วนลึกของคุณและกระตุ้นให้คุณตั้งค่างบประมาณและทำตามนั้น ซึ่งจากการกระตุ้นทางจิตวิทยาจะทำให้เกิดความเครียดน้อย

 

9. ให้ดูไปที่จิตใจ ความรู้สึกของเพื่อน ก่อนที่จะรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่พอใจจากการกระทำหรือคำพูดของพวกเขา (Before becoming hurt or offended by a friend’s actions or words, look at their heart.)

โดยทั่วไปเมื่อมองที่จิตใจ ความรู้สึกของใครบางคน คุณจะได้รับความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อปฏิกิริยาของพวกเขา ผลที่ได้คือ ทำให้การให้อภัยนั้นทำได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงประหยัดพลังงานของคุณเพื่อนำไปใช้ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์แทนความโกรธและความแค้น

 

10. ตรวจสอบแรงจูงใจของคุณ! (Check your motives!)

ก่อนที่คุณจะพูดหรือทำอะไรให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณคิด คือความคิดเห็นของคุณเองและไม่ใช่ของเพื่อน / เจ้านาย / คู่คิด และเมื่อคุณคิดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นความคิดอันแท้จริงของคุณเองและไม่อคติ และคุณไม่ต้องการความเห็นชอบหรือการได้รับอิทธิพลจากคนอื่น

 

11. อย่าฝังความคิดที่ไม่ดี  (Don’t bury icky thoughts)

เมื่อคุณต้านตัวเองไว้โดยผลักดันความคิด ความรู้สึกสึกอัดอัดใจหรือรู้สึกไม่สบายออกไป…อย่าทำเช่นนั้น แม้ว่ามันจะมีอารมณ์ด้านลบติดอยู่ก็ตาม ปล่อยให้มันเกิดขึ้น  นั่งนิ่งๆ สักครู่และรู้สึกถึงอารมณ์อย่างแท้จริงรู้สึกถึงอารมณ์ด้านลบ เผชิญหน้ากับอารมณ์นั้น แล้วปล่อยมันผ่านไป อย่ายับยั้งความรู้สึกที่ไม่ดีเพราะจะเห็นความเลวร้าย สิ่งไม่ดีที่ซ่อนเร้นไว้ออกมาในช่วงเวลาที่เครียดจัดๆ และจะทำให้คุณต้องทำและกระทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดีแล้วคุณจะรู้สึกเสียใจในภายหลัง

 

12. ให้ความสำคัญ สนใจ มุ่งเน้นที่ตอนนี้…ช่วงเวลานี้ (Focus on right now…this very moment.)

ไม่ใช่เรื่องของเมื่อวาน ไม่ใช่เรื่องของวันพรุ่งนี้  ตอนนี้มันคือทั้งหมดที่คุณมี ... มันคือทั้งหมดที่เป็นเรื่องสำคัญ  ด้วยวิธีนี้การกระทำของคุณในช่วงเวลาปัจจุบันไม่น่าจะถูกกำหนดโดยประสบการณ์ที่ผ่านมา นี่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยการฝึกฝนเทคนิคง่ายๆ เหล่านี้ทุกวันให้สม่ำเสมอ จะทำให้คุณเชี่ยวชาญอย่างถ่องแท้ในการคิดอย่างมีประสิทธิภาพและเห็นได้ในไม่ช้าถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นของการทำงาน การมีความคิดสร้างสรรค์และความสัมพันธ์  โปรดจำไว้ว่ามันคือทั้งหมดที่เกี่ยวกับการจัดสมองและความรู้สึกนึกคิด ดังนั้นจึงไม่ขัดแย้งกัน

 


Source: 

Lifehack/By: Lynn Silva

12 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับวิธีคิดอย่างมีประสิทธิภาพ

https://www.lifehack.org/articles/productivity/12-things-you-never-knew-how-think-effectively.html