Employees

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ทางผู้เขียนมีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันอีกเช่นเคย เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในปัจจุบันนี้ นั่นคือเรื่อง “การใช้อีเมลทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ” ที่หลายคนอาจจะข้องใจว่า “เอ๊ะ! มันเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ใช้เป็น…ทำไมต้องมาบอกด้วย”

ในสภาวะเช่นนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อความสุขในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต วัยเรียน วัยทำงาน วันนี้ผู้เขียนมีวิธีส่งเสริมความสุขในชีวิตมานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านกันครับ จะมีเทคนิคไหนที่ตรงใจกับท่านผู้อ่านบ้างไปเริ่มกันเลย สำหรับ 9 เทคนิคสร้างความสุขที่ไม่ต้องลงทุนมากมายอะไร ซึ่งง่าย เหมาะกับทุกคนและยังสามารถปรับใช้ได้ทันทีแค่เพียงเริ่มต้นวันนี้ !!

ในโลกปัจจุบันของคนวัยทำงาน เราต่างตกเป็นเหยื่อกระแสนิยมของสังคมที่กำลังบีบคนวัยทำงานให้พยายามกันสุดตัว เพื่อจะเป็นคนเก่งด้วยความเชื่อที่ว่าการที่ชีวิตคนเราจะมีความสุขได้ต้องประสบความสำเร็จในหลายด้าน

หลายท่านที่กำลังอยู่ในวัยทำงานเคยเป็นกันบ้างไหม ที่หลายครั้งมีโอกาสดีๆ ผ่านเข้ามามากมายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น พนักงานดีเด่น การเลื่อนตำแหน่ง การได้รับมอบหมายงานที่สำคัญ การเป็นตัวแทนบริษัทในการพูดหรือทำสิ่งต่างๆ ทริปศึกษาดูงานต่างประเทศ หรือ การขึ้นไปจับฉลากมอบของขวัญปีใหม่ให้คนอื่น ฯลฯ เราก็ไม่เคยถูกเลือกให้ได้รับโอกาสนั้น หรือ หากจะได้จริงคือโอกาสที่คนอื่นเกี่ยงปัดเศษเหลือมา แบบนี้เคยเจอกันไหมครับ ?

เคยเป็นกันไหม อยู่ดีๆ ก็รู้สึกโกรธขึ้นมา อาจจะเพราะด้วยเรื่องงาน เรื่องความสัมพันธ์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ มนุษย์ทุกคนย่อมมีความโกรธ เมื่อเผชิญหน้ากับสภาวะกดดันหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ซึ่งความโกรธเป็นอารมณ์เชิงลบที่ถ้าหากควบคุมไม่ได้ ก็อาจสร้างความเสียหาย ความวุ่นวาย ให้กับชีวิตตัวเองและคนรอบข้าง

‘แป๊บนึง’ ‘เอาไว้ก่อน’ ‘เดี๋ยวค่อยทำก็ได้’ การผลัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) เป็นเรื่องง่ายๆ ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี มันคือการหยิบยืมความสบายในอนาคตมาใช้ ทำให้ปัจจุบันเรารู้สึกสบายกายสบายใจ เพราะเราได้ผลักภาระที่มีอยู่ออกไป ไว้อีกซัก 5-10 นาทีค่อยทำ หรืออีก 6 ชั่วโมงดี หรืออีก 2 วันก็ได้มั้ง หรือเผลอๆ ก็อาจจะไม่ทำเลยก็ได้

มีคำกล่าวที่ว่าความแน่นอนเดียวในชีวิตของคนเรา คือการเปลี่ยนแปลง และแม้ว่าในชีวิตจะมีบางสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น การกดรีโมตเพื่อเปลี่ยนช่องโทรทัศน์ แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเรา และเราไม่สามารถกดรีโมตเพื่อควบคุมสิ่งเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่ “การเปลี่ยนแปลง” ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ในสังคม เพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่ได้มีคำตอบเดียวที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้นหนึ่งในทักษะที่อาจเป็นแรงเสริมให้เราสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้ คือทักษะในการทักทาย “ความเปลี่ยนแปลง” เมื่อความเปลี่ยนแปลงได้เดินเข้ามาทักทายชีวิตของคุณ

อาชีพรับจ้างอิสระหรือ gig economy กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้คนสมัยใหม่ โดยเฉพาะมิลเลนเนียล มีนิสัยชอบทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับเวลา สถานที่ หรือระบบขององค์กร ทำให้พวกเขาเริ่มทำงานประจำกันน้อยลง และหันมาประกอบอาชีพที่เราเรียกติดปากว่า ‘ฟรีแลนซ์’ (freelance) กันมากขึ้น

พูดคนเดียวอาจแปลได้หลายอย่าง ถ้าไม่เป็นพิธีกร นางเอกละคร ก็เป็นคนเพี้ยน เพราะเมื่อเผลอพึมพำกับตัวเองทีไร คนรอบข้างก็เป็นอันงุนงง แต่นั่นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าเรากำลังเป็นบ้าหรอกนะ ในทางตรงกันข้าม การพูดคุยกับตัวเองกลับดีต่อสุขภาพจิตมากกว่าที่คิด

แปดชั่วโมงแห่งการทำงาน นอกจากต้องจัดการเอกสารและภาระงานตรงหน้า บางครั้งยังต้องรับมือกับภาวะทางอารมณ์ที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะทำงานผิดพลาด เจ้านายด่า ลูกค้าบ่น ไม่วายวิ่งออกไปร้องไห้ในห้องน้ำ แล้วกลับมาพร้อมกับตาที่บวมปูด ทุกคนรู้ มนุษย์วัยทำงานรู้ ใครๆ ก็เคยร้องไห้ในที่ทำงานทั้งนั้น เพราะไม่ว่าเราพยายามปกปิดมากแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ดูเหมือนน้ำตาจะไม่เชื่อฟัง พร้อมไหลออกมาตลอดเวลา จนทำให้ห้องน้ำ ระเบียง และบันไดหนีไฟกลายเป็นพื้นที่รองรับความรู้สึกอันท่วมท้นเหล่านั้น แต่ทุกวันนี้ เรามองว่าการร้องไห้ในที่ทำงานกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่ใครก็ทำกัน หรือยังคงเป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความไม่มืออาชีพในการทำงานอยู่?

แม้จะเริ่มชินกับการต้องทำงานอยู่บ้านหรือ Work from Home ก็จริง แต่ใช่ว่าวิธีการทำงานแบบนี้จะลงตัวเสมอไป เพราะสิ่งหนึ่งที่คนทำงานไม่ควรมองข้ามคือภาวะ Burnout Syndrome หรืออาการหมดไฟในการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมซ้ำๆ หากไม่คอยกระตุ้นตัวเอง วันใดวันหนึ่งไอเดียสร้างสรรค์ที่เคยมีอาจเดินมาถึงทางตันก็เป็นได้ เราจึงคัดสรรแนวทางเพื่อปรับสมดุลให้ชีวิตเข้าที่เข้าทางและห่างไกลจากคำว่าหมดไฟในการทำงานด้วยวิธีต่อไปนี้

ชีวิตในฝันของหนุ่มสาวออฟฟิศคือการได้ทำงานที่บ้าน แต่พอฝันเป็นจริงจากเหตุโควิด-19 ก็มีคนจำนวนหนึ่งปรับตัวได้ดี ขณะที่อีกจำนวนหนึ่งอึดอัดและเกิดอาการบิดเบี้ยว เพราะปรับตัวได้ไม่ดีนัก พร้อมกับความเจ็บปวดในใจที่การทำงานของเราไม่ได้แสดงคุณค่าให้คนได้เห็นเท่าการทำงานในพื้นที่สำนักงานตามปกติ

บริษัทผลิตสว่านแห่งหนึ่ง พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ด้วยการโฟกัสไปที่ ‘สว่าน’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่บริษัทขาย ในขณะที่บริษัทผลิตสว่านอีกแห่งหนึ่ง กลับคิดว่าสิ่งที่ลูกค้าซื้อไม่ใช่สว่าน แต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ รูที่ผนัง สว่านเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้เกิดรู บริษัทแห่งที่สองนี้จึงโฟกัสไปที่โซลูชันใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้เกิดรูบนผนังแบบที่ลูกค้าต้องการได้ คุณคิดว่าบริษัทแห่งไหนจะตกผลึกโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้สร้างสรรค์และกว้างไกลกว่ากัน? บริษัทฟาสต์ฟู้ดชื่อดังแห่งหนึ่ง ต้องการเพิ่มยอดขายมิลก์เชก (นมปั่น) จึงเริ่มต้นด้วยท่าพื้นฐานของธุรกิจคือ สัมภาษณ์ลูกค้าว่าต้องการดื่มมิลก์เชกแบบไหน และพยายามพัฒนาสูตรตามที่ลูกค้าแนะนำ แต่ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นยอดขายได้ บริษัทจึงจ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมาช่วยคิดวิธีเพิ่มยอดขายมิลก์เชก อาจารย์เริ่มต้นด้วยการดูข้อมูลการขาย และไปนั่งสังเกตการณ์ดูคนซื้อมิลก์เชกที่ร้าน เขาพบว่าคนส่วนใหญ่ซื้อมิลก์เชกในช่วงเช้า และสาขาที่ขายดีคือสาขาก่อนขึ้นทางด่วน เมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับคนที่ซื้อเพื่อหาว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่คนต้องการซื้อคืออะไร เขาพบว่าสิ่งที่คนต้องการซื้อไม่ใช่มิลก์เชก แต่เป็นอาหารอะไรสักอย่างให้ปากได้ฆ่าเวลาในการขับรถคนเดียวบนทางด่วนยาวๆ เข้าเมือง ซึ่งอาหารที่ตอบโจทย์นี้ ควรเป็นอาหารที่กินได้โดยใช้มือเดียว (เพราะอีกมือต้องบังคับพวงมาลัย) และอิ่มท้องได้ถึงมื้อเที่ยง และนั่นคือ Jobs-to-be-Done ของมิลก์เชก “อยากเพิ่มยอดขายเหรอ แค่ทำให้มิลก์เชกหนืดขึ้น ดูดสนุกขึ้น และเพิ่มบางอย่างให้คนได้เคี้ยวกรุบๆ ไปด้วยแก้เบื่อยามขับรถ เท่านั้นแหละ จะตอบโจทย์คนซื้อ” อาจารย์กลับมานำเสนอคำตอบให้กับบริษัท และแน่นอนว่า เมื่อบริษัททดลองปรับสูตรตามคำแนะนำของอาจารย์ ยอดขายมิลก์เชกก็พุ่งทะยานอย่างที่ต้องการ

เราอาจจะต้องยอมรับกันก่อนว่า ‘ความเครียด’ นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นวัยไหน อายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร เราต่างก็มีความเครียดในแบบฉบับของตัวเอง จะเครียดมากเครียดน้อย เครียดนานหรือเครียดสั้น ประเด็นก็จะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบบางคนการเริ่มต้นหางานอาจจะไม่ยากเท่ากับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ตัดสินใจยากมากกว่าว่าจะเลือกเดินไปไหนเส้นทางไหน ระหว่างที่ทำงานใกล้บ้าน หลังเลิกงานยังมีเวลาเหลือเฟือในการทำสิ่งต่าง ๆ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินทาง แต่เงินเดือนไม่เยอะเท่าไร กับอีกหนึ่งงานที่ที่ทำงานต้องใช้เวลาเดินทางไปไกลค่อนข้างนาน แต่ให้เงินเดือนเยอะกว่า

หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยยอดพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ หลายบริษัทเริ่มทยอยให้พนักงานได้ Work from home กันหลายที่ ถึงแม้ว่าการประหยัดค่าเดินทางจะดีและตื่นมาก็ทำงานที่บ้านได้เลย แต่อีกมุมหนึ่งการจะทำงาน “ที่บ้าน” นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราอาจประสบปัญหาแยกชีวิตปกติกับงานออกจากกันไม่ได้ แถมกิจกรรมที่อยู่ในบ้านก็น่าดึงดูดไปซะหมดจนบางทีคุณทำงานได้น้อยกว่าที่ควร

สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดมาตรการลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้คน ซึ่งการจำกัดการเดินทางผู้คนก็ย่อมส่งผลให้หลายธุรกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ธุรกิจสายการบิน’

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้อง work from home ในช่วงนี้ แรกๆ อาจรู้สึกเหมือนสวรรค์ที่รอมานาน ด้วยความที่มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวเต็มยศ ไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางไกลๆ แถมยังได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น แต่พอนานเข้า ทำไมกลับรู้สึกว่าสมดุลชีวิต หรือ work-life balance เริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่อยๆ

การมีแรงจูงใจในตัวเองหรือ Self-Motivation นั้น ไม่ใช่จะมีกันทุกคน แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถรักษามันไว้ไปตลอดเส้นทางชีวิตการทำงานของคนหนึ่ง ฟองซ่าของโซดามีวันหมดไปฉันใด ภาวะหมดไฟล้วนมาเยือนทุกคนได้ฉันนั้น บางคนยืนอยู่จุดสูงสุดของพีระมิด รู้ทุกอย่างทะลุปรุโปร่ง หมดความท้าทาย หมดเป้าหมาย หมดไฟในการทำงาน การเปลี่ยนงานอาจเป็นตัวเลือกสุดท้าย

ติดเชื้อหรือยัง เราจะเป็นไหม ป่วยแล้วหรือเปล่า ช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย กำลังระบาดมากขึ้น มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้น จนหลายคนกังวลว่า ตัวเองเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือรับเชื้อมาแล้ว โดยที่ยังไม่รู้ตัว หรือเริ่มเห็นว่าตัวเองมีอาการป่วยแล้ว ซึ่งหนึ่งวิธีที่จะเฝ้าดูอาการคือการกักตัว อยู่ที่บ้าน 14 วัน ที่เป็นระยะเวลาของการฝักตัวของเชื้อ The MATTER จึงได้รวบรวมข้อมูลจากคำแนะนำของกรมควบคุมโรคของไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ มาให้ดูว่า วิธีปฏิบัติ หากรู้ตัวว่าเสี่ยงนั้น ต้องทำอะไรกันบ้าง

เวลาพูดถึงคำว่าฟรีแลนซ์ ภาพจำของหลายคนคือการเลือกเป็นนายตัวเอง มีชีวิตแบบ work-life balance แถมหลายครั้งก็อาจจะมีบางคนที่โพสต์รูปชีวิตชิลๆ จากทางบ้านส่งตรงผ่านโซเชียลมีเดียมาให้คนที่ถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในออฟฟิศอิจฉา

ฉันติดเชื้อหรือยังนะ? ได้แต่ตั้งคำถามกับตัวเอง เมื่อสถานการณ์ของ COVID-19 เริ่มกระชั้นเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้น จนหลายคนเริ่มทำใจแล้วว่า อาจจะติดเชื้อแบบไม่รู้ตัวกันไปแล้วจริงๆ ก็ได้ แต่ถ้าผู้คนติดเชื้อกันจนล้นโลกแล้ว จุดสิ้นสุดของการแพร่ระบาดนี้ จะหยุดอยู่ที่ไหน? เพื่อหาคำตอบนั้น ‘Herd immunity’ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอทางออกจากวงเวียนแห่งโรคระบาดด้วยคำนี้ แล้ว Herd immunity คืออะไรกันแน่ ยิ่งกว่านั้น จะสามารถใช้ได้ผลจริงๆ

คนที่มีระเบียบและมีระบบ (Organized People) จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้เกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้นเลย หากแต่พวกเขาต้องปลูกฝังอุปนิสัยเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเป็นคนมีระเบียบที่เรียบร้อยและเป็นระบบ ดังนั้นถึงคุณจะคิดว่าคุณเป็นคนที่ไม่มีระเบียบและระบบ คุณก็สามารถเรียนรู้ที่จะเป็นคนมีระเบียบและระบบได้จากการวางแผนการกระทำต่างๆ การจดสิ่งต่างๆ ลงไปจนถึงการทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นและการจัดระเบียบระบบสิ่งต่างๆ ที่สำคัญ คุณจะเป็นบุคคลที่มีระเบียบและระบบได้ตราบใดที่คุณมีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และฝึกฝน

ในยุคที่เทรนด์โลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เกิด disruption (การหยุดชะงัก) ที่มีผลต่อวิธีการทำงานและความต้องการของตลาดแรงงาน บวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมกับปัญหาต่างๆ อย่างภัยแล้ง ความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณ การแพร่ระบาดของไวรัสและปัญหาอีกหลายๆ อย่างทำให้ปี 2563 เป็นปีที่ท้าทายปีหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ทำงานและผู้จบใหม่ ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้คือ “การตกงาน” โดยเฉพาะในกลุ่มของ ผู้สำเร็จการศึกษาหรือเด็กจบใหม่ ซึ่งมีปัจจัยหลายด้านทั้งทักษะ ความรู้ที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยหรือการเลือกงานของเด็กจบใหม่ แต่ถ้าหากปัจจัยใหญ่นั้นคือ “เด็กตกงานเพราะเรียนไม่ตรงตามความต้องการของประเทศ” แล้วตลาดแรงงานของประเทศไทยต้องการอะไรและไม่ต้องการอะไร?

นอกจากเราจะต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและในการทำงานแล้วนั้น ภาษาที่สามก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารไม่ได้มีแค่การใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวอีกแล้ว แต่ยังมีอีกหลาย ๆ ภาษาที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนี่ก็คือ 7 ภาษาที่เราควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำงาน ในปี 2020 ซึ่งเป็นการสำรวจโดยเว็บไซต์ www.lifehack.org อ้างอิงข้อมูลจากจำนวนของผู้ใช้ภาษา ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ นำมาประกอบรวมกัน จะมีภาษาไหนบ้างที่น่าเรียนรู้ ตามมาดูกันได้เลย

กวันนี้ อาชีพส่วนใหญ่จะต้องเดินทางไปออฟฟิศหรือที่ทำงาน เผชิญกับการจราจรที่น่าเบื่อหน่ายและความเร่งรีบ ทำให้หลายคนไม่อยากเดินทางไปทำงาน หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่ชอบการเดินทางไปทำงานหรือข้องเกี่ยวกับการจราจรในประเทศไทย และชอบอยู่ติดบ้าน วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาไปดู 10 อาชีพที่คุณไม่ต้องออกไปนอกบ้าน เพียงแค่อยู่บ้านคุณก็สามารถทำงานได้

จากการวิจัยพบว่าเปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่มีความเครียดกับงานอยู่ในระดับสูง และมีทีท่าว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้น ซึ่งตามที่สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติของ CDC ระบุ ไว้ จากการศึกษาพบว่ามีคนอเมริกันจำนวนมาก อยู่ในช่วงระหว่าง 29% ถึง 40% ที่ “รู้สึกเครียดมากในที่ทำงาน”

ทุกวันนี้เรามักได้ยินว่ามีรายได้ทางเดียวไม่พอ ต้องมี อาชีพเสริม หรือ ‘Second Job’ กันทั้งนั้น แต่พอหันมามองตัวเองแล้วความสามารถพิเศษก็ไม่มี หัวการค้าก็ไม่ค่อยรุ่ง เลยไม่รู้จะทำอย่างไร

อนาคตเป็นเรื่องที่เราฝันถึงเสมอ โดยเฉพาะการทำงานที่หลายคนมักฝันว่าอยากประสบความสำเร็จ แต่พอตัดภาพมาที่ความจริง อนาคตที่เราคิดถึงมักอยู่ไกลแค่มื้อเที่ยงนี้จะกินอะไรดีเท่านั้น

‘วินัยไม่ใช่กรงขัง แต่คือกุญแจสู่อิสรภาพ’ คือหนึ่งในประโยคที่น่าจดจำจากหนังสือ Homo Finishers: สายพันธุ์เข้าเส้นชัย ของนิ้วกลม ถ้าชีวิตเราเลือกทางเลือกของวินัย เมื่อผ่านไปหลายเดือนหลายปีแล้วอิสรภาพจะตามมา แต่ถ้าทางเลือกของเราเต็มไปด้วยตัวเลือกที่ไร้วินัย ผ่านไปหลายเดือนหลายปี อิสรภาพในทางเลือกของเราจะเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าวันหนึ่งคุณรู้สึกไม่มีทางเลือกเลย มันก็มาจากทางเลือกก่อนหน้านี้ของคุณนั่นแหละครับ ที่ทำให้คุณจะ ‘มี’ หรือ ‘ไม่มี’ ทางเลือกในวันนี้