Parents

เคยสงสัยกันไหมว่า… เวลาที่เราถามอะไรคนที่โตกว่าบ่อยๆ จนบทสนทนาเริ่มยืดยาว คำตอบที่ทำให้เรามักจะถามต่อไม่ถูกคือ “โตขึ้นเดี๋ยวก็รู้เอง” เชื่อได้เลยว่า หลายคนที่ได้ยินคำนี้ คงมีคำถามว่า “ทำไม?” โผล่ขึ้นมาเต็มหัว “ทำไมถึงไม่ตอบเลยล่ะ?” “ทำไมต้องรอให้โตขึ้น? “แล้วโตขึ้นคือต้องโตเท่าไหน?”

บีบีซี ฟิวเจอร์ (BBB FUTURE) นำเสนอบทความเรื่อง “โควิด-19 กำลังทำให้โลกของเด็กๆ เปลี่ยนไปอย่างไร?” (How Covid-19 is changing the world’s children) มีเนื้อหาท่อนหนึ่งใจความว่า สิ่งที่น่ากังวลใจไม่แพ้การส่งเสริมทักษะความรู้ในช่วงที่เด็กๆ ถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน คือ การพัฒนาด้านอารมณ์และการเข้าสังคมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กเล็กและประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องสุขภาพจิตวัยรุ่นขณะใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตลอด 24 ชั่วโมงเป็นระยะเวลานาน จากสถิติในสหรัฐอเมริกา พบว่า วัยรุ่นร้อยละ 35 ได้รับโอกาสเข้ารับการฟื้นฟูสุขภาพจิตภายใต้การดูแลของโรงเรียน ครูมักเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นอาการผิดปกติแล้วกระตุ้นให้พวกเขาเข้ารับการรักษา สำหรับวัยรุ่นหลายคน ‘บ้าน‘ ไม่ใช่สถานที่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย เมื่ออยู่บ้านบางคนต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านอย่างต่อเนื่องในช่วงกักตัวแบบนี้จึงไม่ใช่เรื่องดีนักสำหรับพวกเขา

การปะทะกันระหว่างคนต่างรุ่นถูกพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งมุมมองการใช้ชีวิต การทำงาน โดยเฉพาะในประเด็นการเมืองที่มี “คนรุ่นใหม่” เข้ามา มีทั้งคำชื่นชม เสียงเสียดสีในเชิงเด็กที่ไร้เดียงสาทางด้านการเมือง นอกจากนี้ยังมีคำอย่าง Generation Me ที่ใช้เรียกคนเจนหลังที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และการสวนกลับว่า OK Boomer! ยังสะท้อนว่าความขัดแย้งระหว่างคนแต่ละช่วงอายุเป็นปัญหาที่มีทั่วโลก แม้ความขัดแย้งจะมีมากขึ้น แต่อย่างไรการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม ยังจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของคนหลายเจเนอเรชันในการทำงานและการอยู่ร่วมกัน ความเข้าใจจึงเป็นเครื่องมืออีกเครื่องมือที่จะช่วยลดความขัดแย้ง

ตามธรรมชาติแล้วทารกจำเป็นต้องพึ่งพาใครสักคนที่จะมอบความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใส่ใจเขาเพื่อความอยู่รอด พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดอาจเป็นตัวเลือกแรกสุด หรืออาจเป็นญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ใหญ่ใจดีสักคนเข้ามาทำหน้าที่ผู้เลี้ยงดู สุดแล้วแต่เหตุผลของชีวิต อย่างน้อยที่สุดเจ้าหนูต้องได้รับความรักความอบอุ่นเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยเป็นสุขหรือมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ฐานที่มั่น’ (secure base) เพื่อให้เขากล้าออกไปเรียนรู้อย่างอุ่นใจและมีที่พักพิงอันปลอดภัยซึ่งเขาสามารถกลับไปหาได้เสมอ

ลำพังแค่คนอายุห่างกันไม่กี่ปี แต่อยู่ในโลกออนไลน์คนละใบ ใช้โซเชียลมีเดียคนละชุด เวลามาเจอหน้ากันจริงๆ ไม่ว่าจะทำงานด้วยกัน เสียงที่ต่างชัดเจนในวาระเลือกตั้ง หรือการต่อสู้ระหว่างประเทศในโลกทวิตภพ ก็ว่า ‘ห่าง’ แล้ว แต่หากคนต่างรุ่นอย่าง Baby Boomer มาเจอกันเจนอัลฟ่า หรือมารับรู้ว่าทุกวันนี้เจนเอ็กซ์พูดคุยกันเรื่องอะไร คิดและเชื่อมตัวเองสู่โลกภายนอกอย่างไร หลายครั้งทำให้เกิดการดูแคลนระหว่างกัน

ปัจจุบันการรังแกกันในกลุ่มนักเรียนส่งผลกระทบกลายเป็นปัญหาสังคม และการใช้ความรุนแรงผ่านการกระทำ และคำพูดที่ไม่อาจมองข้ามได้ มุมมองและทัศนคติที่มีต่อความรุนแรง และการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมเพื่อสร้างความบันเทิงฝังรากอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้เกิดความเคยชิน และกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่คนในสังคมจะมองคำพูดหรือการกระทำรุนแรงเป็นเรื่องสนุกสนาน ทั้งๆ ที่ควรแก้ไขประเด็นดังกล่าว และหันมามุ่งเน้นเรื่องการเห็นอกเห็นใจ การเคารพในความรู้สึก และร่างกายผู้อื่นให้มากยิ่งขึ้น อาศัยกระบวนการที่เหมาะสม และความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยทางสังคมที่ส่งอิทธิพลต่อเด็ก และเยาวชนในการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนมุมมองต่อการกลั่นแกล้งรังแกกันอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การจะแก้ไข และป้องกันปัญหาการรังแกกันควรเริ่มกระทำตั้งแต่ครอบครัว สอดคล้องกับการดูแลส่งเสริมจากโรงเรียน และการจัดสภาพแวดล้อมของชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันนั่นเอง

ไม่มีใครโง่หรือฉลาดแต่กำเนิด เราสร้างความแข็งแรงและขยายขีดความสามารถของสมองให้มากขึ้นเหมือนกล้ามเนื้อได้ ถ้าเปรียบร่างกายที่สามารถฟิตซ้อมสมรรถะความแข็งแกร่งจนมีมัดกล้าม สมองก็สามารถแข็งแรงได้ด้วยการใช้งานเรียนรู้ฝึกฝนสิ่งใหม่ๆ ให้ด้านที่ไม่ถนัดสามารถพัฒนาให้คล่องแคล่ว ทักษะที่ดีอยู่แล้วก็กลายเป็นเชี่ยวชาญ กรอบคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset เป็นหัวใจสำคัญของการเตรียมเด็กและคนรุ่นใหม่ ถ้าครูเสริมให้นักเรียนเข้าใจกลไกการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ก็ยิ่งช่วยขยายภาพให้พวกเขามองเห็นศักยภาพที่ไม่สิ้นสุดของตัวเอง

หัวดื้อ หัวแข็ง หัวร้อน พฤติกรรมที่คู่กับวัยรุ่น มองจากคนนอกก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เข้าใจได้ แต่ผู้ปกครองที่ต้องอยู่กับ ‘การเปลี่ยนไป’ ของลูก และบรรยากาศที่ ‘งัดข้อ’ กันไม่หยุด ทำให้หลายคนปวดใจและปวดหัวกันไม่น้อย

ทักษะตัวสุดท้ายของทักษะศตวรรษที่ 21 – Social and cultural awareness การตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ทักษะสำคัญของมนุษย์ (ที่ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม) ศตวรรษนี้ การตระหนักรู้ทางสังคมเป็นหนึ่งในทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Learning Skills: SEL) ที่ถูกระบุในวงการศึกษาว่า ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน จำเป็นต้องออกแบบการเรียนรู้ ให้เด็กๆ มีทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ตรงหน้า รวมทั้งกระบวนการคิดเรื่องการจัดการกับความสัมพันธ์ในตัวเองและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้เป็นไปอย่างมีคุณธรรมและเอื้ออาทร

เราอาจจะต้องยอมรับกันก่อนว่า ‘ความเครียด’ นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นวัยไหน อายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร เราต่างก็มีความเครียดในแบบฉบับของตัวเอง จะเครียดมากเครียดน้อย เครียดนานหรือเครียดสั้น ประเด็นก็จะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้ห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งคนพลุกพล่านมากนัก เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อย ๆ เป็นต้น

หลังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ และ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศมติป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการปิดพื้นที่เสี่ยงบางส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฆล เป็นเวลา 14 วัน (18-31 มี.ค. 63) กักตัวอยู่บ้าน และ Social Distancing – การรักษาระยะห่างทางสังคม เป็นสิ่งที่รับรู้ร่วมกันและต้องปฏิบัติตาม

เนื่องจากช่วงนี้ไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ทำให้บ้านเมืองเราเดินหน้าสู่บรรยากาศแห่งการ ‘work from home’ รวมถึงโรงเรียนที่ทยอยปิดเพื่อป้องกันการแพร่ของไวรัส แต่ในคำว่า ‘อยู่บ้าน’ นั้นมีความหนักใจและกังวลใจซ่อนอยู่ อย่างไรก็ดี The Potential (หนึ่งในผู้ประสบภัย) เราจับความกังวลใจของผู้ปกครองบางท่านในแง่ ‘อยู่บ้านแล้วจะทำอะไรดี’ จึงหันไปปรึกษาเพื่อนพ้องน้องพี่นักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยกันคิดกิจกรรมซึ่งมีโจทย์คือ ครอบครัวต้องทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน จากวัสดุเหลือใช้ที่บ้าน ราคาไม่แพง และหาซื้ออุปกรณ์ได้ง่ายในสถานการณ์เช่นนี้

ครอบครัว เพื่อน การศึกษา/อาชีพ และไลฟ์สไตล์หรือวิถีการใช้ชีวิต เป็นสี่พื้นที่ที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชน แต่ยังมีตัวช่วยเสริมพลังอีกหนึ่งอย่าง เรียกว่า พื้นที่ที่ 5 (the 5th Space) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนจากภายในสู่ภายนอก (Inside-out) พื้นที่ที่ 5 (the 5th Space) คือพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่สามารถสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยเชื่อว่าการได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้นำ ทดลอง เรียนรู้ ล้มเหลว หรือแม้แต่ทำผิดพลาด เป็นประสบการณ์สำคัญที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจตนเองจากภายใน ก่อนออกไปสร้างความสัมพันธ์กับภายนอก (self to society) ลักษณะของพื้นที่ที่ 5 คือ 1) เป็นพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่เชื่อใจและได้รับความไว้วางใจ (to trust and be trusted) 2) เป็นพื้นที่ชีวิต ปลอดภัยที่เด็กและเยาวชนสามารถเป็นตัวของตัวเองที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดได้ 3) เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ได้รู้จักกับความหลากหลาย และสร้างความสัมพันธ์กับภายนอก 4) เป็นพื้นที่ที่มีความสนุกสนานและรื่นรมย์

เรื่องเพศเป็นหนึ่งในท็อปปิคที่พ่อแม่หลายๆ คนคิดว่าเป็นเรื่อง ‘ยาก’ ที่จะคุยกับลูก อาจเพราะพ่อแม่เองก็ถูกเลี้ยงมาด้วยค่านิยมที่ว่าเรื่องเพศไม่สามารถพูดดังๆ ได้ ต้องใช้วิธีกระซิบเอา พอมาถึงตาตัวเองก็เลยไม่รู้จะเข้าหาลูกยังไง สุดท้ายปล่อยผ่านไม่เคยพูดเรื่องนี้กับลูกจริงจังเสียที เมื่อเด็กมีข้อสงสัยหรืออยากรู้เรื่องเพศ พวกเขาเลือกที่จะไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือคุยกับคนที่เขาไว้ใจอย่างเพื่อน ด้วยประสบการณ์ที่ยังมีไม่มาก บางครั้งการตัดสินใจ ประเมิน หรือแยกแยะข้อมูลที่ได้รับอาจคลาดเคลื่อน อาจส่งผลตั้งแต่ระดับไม่ร้ายแรงมากไปถึงร้อนรนได้

ประเทศไหนเหมาะสมที่จะเลี้ยงลูกมากที่สุด? พ่อแม่หลายคนอาจหยิบลิสต์ชื่อประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วมาขึงดูว่ามีประเทศอะไรบ้าง แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคงมีสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร สองประเทศโลกที่หนึ่งที่ผู้ปกครองทั่วโลกมองว่าคงจะดีต่อการเลี้ยงลูกโดยเฉพาะคุณภาพการศึกษา

วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) หรือวันแห่งความรัก มักจะเป็นวันอีกวันหนึ่งที่เด็กหรือวัยรุ่นหลายๆ คนเฝ้ารอและให้ความสำคัญพอควร เพราะสำหรับพวกเขาแล้วความรักเป็นเรื่องคู่กันกับวัยนั้นๆ การที่ให้ความรักและได้รับความรักจากคนที่พวกเขารักนั้น ทำให้หัวใจกระชุ่มกระชวยและมีความสุข แต่ทว่าเด็กในวัยนี้ยังขาดประสบการณ์การเรียนรู้เมื่อเทียบกับวัยผู้ใหญ่ ความอยากรู้อยากเห็นและอยากลองมักจะมีมากกว่าสติและเหตุผล ดังนั้นพ่อแม่จึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยชี้นำ อบรมและสอนลูกๆ เรื่องความรักให้เหมาะสมตามวัยและวุฒิภาวะ เพื่อที่ลูกจะได้มีทัศนคติและค่านิยมเรื่องรักๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ในยุคที่โลกมีการพัฒนาไปในทุกๆ ด้าน การเลี้ยงดูลูกจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งในแต่ละช่วงอายุวัยของลูก มักจะเจอปัญหาอยู่ตลอด แต่ในยุค 4.0 สิ่งที่ทำให้พ่อแม่ปวดหัวมากที่สุดคือ

ปัจจุบันสังคมกำลังหวาดกลัวการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยี เพราะคิดว่ามันจะทำให้เด็กๆ สูญเสียสมาธิ และนำไปสู่ความล้มเหลวในชีวิต จึงเป็นเหตุให้อินเทอร์เน็ตและเกมรับบทเป็น ‘ผู้ร้าย’ ของเรื่องนี้มาโดยตลอด และภาพที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือผู้ปกครองชักปลั๊กคอมพิวเตอร์ ปิดอินเทอร์เน็ต หรือยึดคอนโซลเกมของพวกเด็กๆ

การทำงานของสมองเป็นสิ่งสำคัญมาก การที่คนเราจะมีความสามารถในการกระทำสิ่งใดๆ ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมอง จะเป็นคนฉลาด คนมีความคิดดี คนคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ หรือเป็นตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาอยู่ที่การทำงานของสมองทั้งสิ้

เมื่อโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อายุพ่อแม่รุ่นเก๋าเหล่าเบบี้บูมเมอร์หรือ Gen X ที่มากขึ้น บวกกับการเติบโตของเด็กรุ่น Gen Y หรือ Gen Z ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย ความไม่เข้าใจกัน ความต้องการที่แตกต่างกันทำให้การเลี้ยงดูลูกในยุค 4.0 ไม่ได้ง่ายอีกต่อไป

"หมดสมัยแล้วกับระบบการศึกษาที่มุ่งสอนเพื่อมอบความรู้ในโลกยุคไอที เด็กยุคใหม่ต้องรู้ว่าจะเป็นอะไร รู้จักกำหนดเป้าหมายของตัวเองและไปให้ถึงเป้าหมาย โดยไม่วอกแวก"