Teachers

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” หรือ “ยุค 4.0” ซึ่งคำว่า 4.0 หมายถึง ลำดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในครั้งที่ 4 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทางด้านการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค 4.0 จึงทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้

การเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงในทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน และมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งในการเรียนรู้นอกจากจะมีผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ และสื่อการสอนเหล่านี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

นี่คงเป็นคำพูดที่ทุกคนเคยได้ยินอย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่ทุกคนคิดจะใช้เพื่อเรียกให้ผู้ฟังทุกคนกลับมาอยู่ที่ตัวเองหรือผู้พูด สิ่งนี้ คงเป็นสิ่งที่คุณครูทุกคนคาดหวังว่าเวลาที่สอนหรือทำกิจกรรมอยู่ในห้องเรียน นักเรียนทุกคนก็กำลังฟัง ปฏิบัติตาม หรือมีส่วนร่วมอยู่ ซึ่งความคาดหวังนี้จะสามารถทำให้เป็นจริงได้ หากคุณครูนำเทคนิค 100% ไปใช้ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน

การตั้งคำถามแบบโสเครติส’ (Socratic Questioning) การสร้างวิธีการเรียนรู้กับผู้คนด้วยการเข้าไปตั้งคำถามกับความเข้าใจที่ผู้คนมีก่อนหน้า และช่วยให้คู่สนทนารู้ว่าเขามีสิ่งที่ยังไม่รู้ เป็นวิธีคิดของโสเครติสนักปรัชญาชาวกรีก

ครูส่วนมากมักเข้าใจผิดในเรื่องข้อผิดพลาด มองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จะต้องแก้ไข จัดการซุกซ่อน แล้วดำเนินการชั้นเรียนต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผิดสำหรับการศึกษา ซึ่งที่จริงแล้วควรต้องมองว่าในกระบวนการเรียนรู้ การทำสิ่งผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

เมื่อเรามองไปรอบๆ ตัว ในชีวิต ในโรงเรียน หรือในสังคมออนไลน์ของเรา เราอาจจะเจอกับคนกลุ่มที่เรารู้สึกว่าพวกเขากำลังประสบความสำเร็จมากๆ และทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างหนัก ชีวิตกำลังไปได้ดีในทุกๆ ด้าน และถ้าหากมองอย่างไม่ถ่อมตัว ผู้อ่านส่วนหนึ่งก็อาจเข้าข่ายการเป็นคนกลุ่มดังกล่าวในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ไม่ว่าเราจะเป็นครู และคนที่เก่งแค่ไหน ก็อาจเคยได้พบเจอกับจุดที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังหมิ่นเหม่ต่อการร่วงหล่นลงไปสู่หุบเหวของความล้มเหลว เป็นจุดที่สมองของเราล้าจนมันอาจเลือกที่จะพาให้ร่างกายของเราให้ห่างออกจากการทำแผนการสอน ตรวจการบ้าน กรอก ปพ. และเข้าสู่การทำสิ่งอื่นๆ เช่นการกดปากกาเล่นนานเป็นนาที หรือมองผ่านเอกสารตราครุฑที่อยู่ตรงหน้าเราโดยที่ไมได้อ่านแม้แต่คำเดียว

เมื่อพูดถึงประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก แน่นอนว่าทุกคนคงนึกถึงประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นบ้านเกิดของซานตาครอสอย่าง “ฟินแลนด์” ข้อมูลด้านการศึกษาเปิดเผยว่า นักเรียนที่อยากจะเรียนต่อด้านครุศาสตร์ที่นี่จะต้องฝ่าฟันกับอัตราการแข่งขันที่สูงลิบ เพราะจะมีนักเรียนเพียง 1 คน ต่อ 10 คน เท่านั้นที่จะได้รับการคัดเลือกได้เข้าเรียนต่อ แม้จะมีอัตราการแข่งขันที่สูงมาก และเงินเดือนเฉลี่ยของครูฟินแลนด์ไม่ได้สูงมากนักเมื่อเทียบกับอีกหลายอาชีพ อย่างไรก็ตาม “วิชาชีพครู” ได้รับการยกย่องจากสังคมฟินแลนด์ และมีคุณค่ามากในสายตาคนรุ่นใหม่ โดยผลสำรวจในปี 2013 บอกว่า 90% ของครูฝึกหัดก็ยังคงมีอาชีพเป็นครูไปตลอดช่วงชีวิตการทำงาน

“ไม่มีเด็กคนไหนโง่ มีแต่เด็กที่มีความคิดไม่เหมือนกัน” คือคำตอบของครูฉัตรชัย ดีเลิศ ครูคณิตศาสตร์ประจำโรงเรียนบ้านโนนแสนคำ-หนองศาลาศรีสะอาด เพราะเด็กแต่ละคนแตกต่าง มีความคิด ความถนัด และศักยภาพที่ไม่เหมือนกัน ไม่มีเครื่องมือมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่จะตัดสินความสามารถพวกเขาได้ บุคลากรโรงเรียนบ้านโนนแสนคำ–หนองศาลาศรีสะอาด (ต่อไปจะขอเรียกเพียงโรงเรียนบ้านโนนแสนคำ) โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง นักเรียน 274 คน ตั้งอยู่ในอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ พวกเขาเชื่อว่า เด็กแต่ละคนแตกต่าง วิธีการสอนแบบเดิมที่มีคำตอบเพียง ‘ถูกหรือผิด’ ใช้กับเด็กๆ ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนการสอนแบบใหม่เพื่อให้เข้ากับเด็กได้ทุกคน นั่นคือ การสนับสนุนให้เด็กได้คิดและแสดงวิธีคิดในแบบของพวกเขาเอง

แม้ว่าทั่วโลกจะอยู่กับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มาได้สักระยะ ธุรกิจหลายภาคส่วนต้องปรับตัวกันอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด ไม่เว้นแม้แต่ภาคการศึกษาที่กระทบนักเรียนหลายล้านคนทั่วโลก ในบ้านเราเองครูไทยก็ต้องปรับตัวไม่แพ้กัน การรู้จักและเข้าใจเด็กยังคงเป็นหัวใจสำคัญก่อนปรับเปลี่ยนการสอนมาสู่ออนไลน์ เหนือสิ่งอื่นใดเรายังคงต้องเรียนรู้จากประเทศอื่นไปด้วย แม้จะแตกต่างในแง่บริบทและวัฒนธรรม แต่งานหลักของครูทั่วโลกล้วนไม่ต่างกัน ทำอย่างไรให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

วิกฤตไวรัส COVID-19 ระบาดนับเป็นช่วงเวลาอันยากลำบากที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ท้าทายความสามารถของทุกภาคส่วนในการรับมือ เพื่อให้ธุรกิจการงานต่างๆ ยังดำเนินต่อไปได้ เช่นเดียวกับแวดวงการศึกษาที่กำลังเผชิญกับการเตรียมตัวครั้งใหญ่ที่สุดในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ที่ครูไทยส่วนใหญ่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน อะไรคือสิ่งที่ครูต้องการมากที่สุด เพื่อฝ่าวิกฤตการศึกษาในช่วงสถานการณ์เปราะบางนี้ เรามีผลสำรวจจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาฝากกัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้ทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญกว่าที่เคยเป็นมา ขณะที่เรากำลังเผชิญกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ยิ่งทำให้เราต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและการคิดเชิงนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดว่า การทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Soft Skill อีกต่อไป แต่ทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อสังคมของเราในการปรับตัวไปสู่ความท้าทายใหม่ๆ แต่เมื่อโรงเรียนปิด ครูพบหน้านักเรียนได้ผ่านออนไลน์ ทำอย่างไรเราจึงจะพัฒนาทักษะสำคัญเหล่านี้ต่อไปได้ ฟังดูเหมือนไม่น่าเชื่อ แต่ครูยังสามารถสอนเรื่องนี้ได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะในห้องเรียนจริงหรือห้องเรียนออนไลน์ แม้ว่าวิธีการและเครื่องมืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม

แม้ว่าสถานการณ์ไวรัสระบาดจะเป็นสถานการณ์บังคับให้ครูทั่วโลกต้องรีบปรับการเรียนการสอนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่ก็ไม่กี่วันในบางประเทศ สำหรับในบ้านเราเอง ในช่วงปลายเทอม 2 ครูและอาจารย์มหาวิทยาลัยบางส่วนได้เริ่มสอนออนไลน์กันมาบ้าง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส แต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาสำหรับการเตรียมความพร้อมในช่วงนั้นแล้ว ถือว่ามีเวลาค่อนข้างจำกัดมากทีเดียว

เมื่อสถานการณ์โรคระบาดคือจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของวงการการศึกษาทั่วโลก ครูและนักเรียนต้องปรับรูปแบบการเรียนรู้มาเป็นออนไลน์เท่าที่จะทำได้ หนึ่งในคำถามยอดฮิตท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ นอกเหนือจากเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือและอินเทอร์เน็ตแล้ว การจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยจะมีทิศทางอย่างไร ในเมื่อเด็กยังเล็กมาก การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กวัยนี้จะทำได้อย่างไร เมื่อไม่ได้เจอครูในห้องเรียนจริง

ตั้งใจสอนแล้วนักเรียนก็ไม่เข้าใจ ตั้งใจสอนแล้วนักเรียนก็หลุด ไม่มีสมาธิจดจ่อ ตั้งใจสอนแล้วนักเรียนก็ทำโจทย์ไม่ได้ นี่คงเป็นปัญหาที่คุณครูหลายคนพบในห้องเรียน ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ครูมิกก็เจอในคาบสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เช่นกัน

ปัจจุบันกระแสการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยีได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักเรียนทุกช่วงวัย นักเรียนที่มีเครื่องมือสื่อสารเช่น โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ที่หลากหลาย และรวดเร็วได้ตลอดเวลาในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะการเสพติดสื่อ และเทคโนโลยีดังกล่าว ส่งผลกระทบ และเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นอย่างมาก ทำให้การจัดการชั้นเรียนของผู้สอนเป็นไปอย่างยากลำบาก และบั่นทอนสมาธิของนักเรียน กลายเป็นปัญหาทางการเรียนรู้ในท้ายที่สุด หากเราเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อการปรับตัว และสร้างการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ทันสมัย เกิดข้อตกลงร่วมกันในการใช้เครื่องมือสื่อสารในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แม้หลายคนจะเป็นครูมานาน แต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาด สถานะของครูทุกคนตอนนี้แทบไม่ต่างกัน เราล้วนเป็นครูสอนออนไลน์หน้าใหม่ หลายเรื่องที่เคยทำได้เมื่อสอนในห้องเรียนจริง อาจต้องทิ้งไว้ชั่วคราวเมื่อสอนออนไลน์

เรามักเข้าใจกันว่า เมื่อไรก็ตามที่ครูปรับการสอนมาเป็นออนไลน์ งานหนักน่าจะตกอยู่กับครูเสียส่วนใหญ่ เพราะต้องปรับรูปแบบการสอนใหม่ทั้งหมด อีกทั้งยังต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ที่อาจจะยังไม่คุ้นเคย ในแต่ความเป็นจริงแล้ว นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีแค่ไหนบนห้องเรียนออนไลน์ ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย สำคัญที่สุดคือ ครูและผู้ปกครอง ต้องช่วยเหลือพวกเขาให้มากขึ้นกว่าการเรียนในห้องเรียนจริง

สำหรับครูมิก ครูจากมูลนิธิ Teach for Thailand ที่มีประสบการณ์ในการสอนในห้องเรียน กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมาประมาณเกือบ 2 ปีนั้น ห้องเรียนที่มีพลังนั้นสำคัญ และถือว่าเป็นหนึ่งความสำเร็จของคุณครูเลยก็ว่าได้

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School รุ่นที่ 1 ในปี 2553 โดยต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพให้เป็นพลเมืองโลก และในปี 2555 ได้มีการปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนได้เรียนรายวิชา IS1 IS2 และ IS3 โดยจุดมุ่งหมายของโรงเรียนมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียน และพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะเทียบเคียงกับโรงเรียนมาตรฐานสากลในต่างประเทศ พัฒนาโครงสร้างหลักสูตร ระบบการบริหารจัดการที่ได้คุณภาพ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ เป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสาร 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

ในห้องเรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ครูต้องเจอนักเรียนลักษณะต่างๆ แทบทุกวัน เชื่อไหมว่าท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายนี้ เราสามารถจัดกลุ่มบุคลิกลักษณะทางอารมณ์ และพฤติกรรมของนักเรียนตามทฤษฎีของนักจิตวิทยา William Moulton Marston ซึ่งเราสามารถจดจำง่ายๆ จากการเทียบกับลักษณะของสัตว์ 4 ชนิด คือ

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้นักเรียนอยากไปโรงเรียน คือการที่นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ในห้องเรียน อ้างอิงจากคู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ปัญหาของนักเรียนสมัยนี้คือไม่ตั้งใจเรียน สมาธิสั้น ขาดแรงจูงใจ เบื่อเรียน คุยกันระหว่างเรียน ดังนั้นเคล็ดลับการสอนให้สนุกของครูจะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้เด็กตั้งใจเรียน ชอบการเรียน ดึงดูดความสนใจและสร้างแรงจูงใจมากขึ้น เมื่อนักเรียนกลับมาสนุกกับการเรียน กับครูผู้สอน วิธีการสอน สื่อการสอนและรูปแบบการสอน นั่นจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียนกับครูได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ดีกว่าแค่นั่งฟังครูเฉยๆ

การที่นักเรียนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ รับฟัง ความเห็นอกเห็นใจจากครู นักเรียนจะรู้สึกอบอุ่นและมีกำลังใจที่จะเรียน บันทึกที่ 1 ของชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) จะพูดถึงวิธีการแสดงออกถึงความใส่ใจของครูที่มีต่อนักเรียน เช่น การจำชื่อ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนช่วยยกระดับการเรียนรู้ ทั้งระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ครูต้องมีวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อสร้างความคุ้นเคย ความเคารพนับถือ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกัน

รูปแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วม สนุกและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการสอนของครูนั้นสามารถดึงศักยภาพ และความสนใจของเด็กนักเรียนออกมาได้โดยการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้ถูกหลัก การมุ่งเน้นสอนให้ตรงจุด การมีสื่อการสอนเพื่อการการถ่ายทอดความรู้ที่ง่ายจะเข้าใจสำหรับตัวนักเรียน โดยรูปแบบเหล่านี้จำเป็นต่อการสอนในยุค 4.0 เป็นอย่างมาก

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Content) เป็นการเรียนรู้หลายทางหรือการบูรณาการความรู้ต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) มาช่วยอำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้ และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอื่นๆ

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยิ่งโลกพัฒนา โลกเทคโนโลยี ครูยิ่งจำเป็น จะสอนให้เด็กเป็นคนดี สื่อสารดี ความลึกซึ้ง จิตวิญญาณ ออนไลน์ทำไม่ได้ ขณะที่ เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ Director of Newground มองว่า ครูผู้สอนต้องก้าวพ้นจากกรอบเดิมๆ ซึ่งมีผลการศึกษาถึงวิธีการก้าวหลุดพ้นจากกรอบเดิมๆ เพื่อให้ทันเทคโนโลยียุคดิจิทัลของครูผู้สอน คือ 1.บุคลากรในระบบเก่าต้องเรียนรู้พัฒนาทักษะใหม่ต่อยอดจากทักษะเดิม (Re-skills) เพื่อให้รู้เท่าทันวิวัฒนาการเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอด เรามาดูกันว่า “ครู” ในยุคนี้้ต้องปรับตัวกันอย่างไร

จากการรายงานผลของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือ PISA 2018 ล่าสุด เผยว่าเด็กนักเรียนในประเทศฟินแลนด์สอบได้คะแนนสูงสุดใน 3 วิชาสอบ